วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคปวดเข่า

ปวดเข่า เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว     การชลอความเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า จะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรังและการติดยาของผู้ป่วย
ลักษณะโครงสร้างของเข่าเข่า เป็นอวัยวะข้อของร่างกาย ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
  •  กล้ามเนื้อ ซึ่งเสริมความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อ
  •  กระดูก
  •  กระดูกอ่อนบุผิวข้อ
  •  เยื่อบุด้านในของข้อ (ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อและช่วยหล่อลื่นข้อ)
  •  ปลอกหุ้มด้านนอกข้อ
  •  เอ็น เป็นส่วนของปลอกหุ้มข้อที่หนาตัวเพื่อยึดข้อให้แข็งแรง
  •  นอกจากนี้ยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงบริเวณนี้ด้วย
สาเหตุข้อเข่าเสื่อม
  •  อายุเกิน 40 ปี
  •  น้ำหนักตัวมาก
  •  การยืนหรือนั่งงอเข่านาน ๆ
  •  การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอกหรือโค้งเข้าใน
  •  จากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง เช่น ได้รับบาดเจ็บ
  •  ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น ขาดอาหาร หญิงวัยหมดประจำเดือน การได้รับยาฉีดเข้าข้อ โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเกาส์ โรครูมาตอยด์ ฯลฯ
อาการ
  •  ปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกลำบาก หรือ ปวดมากเวลาเดิน
  •  บวมและร้อนรอบเข่า
  •  ในรายที่เป็นมากแม้เคลื่อนไหวโดยไม่ลงน้ำหนัก หรือขณะพักอยู่นิ่ง ๆ ก็ปวด
  •  สภาพเข่าโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น
การป้องกัน
  •  ลดน้ำหนักตัว โดยควบคุมอาหาร
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ผัก ผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น แตงโม ชมพู่ สับประรด ส้ม มะละกอ พุทรา และฝรั่ง หลีกเหลี่ยงอาหารรถจัด อาหารมัน อาหารที่ทำจาก แป้ง กะทิ ขนมหวานต่าง ๆ และผลไม้รสหวานจัด เช่น เงาะ ทุเรียน องุ่น มังคุด ละมุด ลำไย น้อยหน่าและมะม่วงสุก
    • รับประทานอาหรให้เป็นเวลา ครบ 3 มื้อ รับประทานอาหารพออิ่ม ไม่รับประทานอาหารจุกจิก และดื่มน้ำบ่อย ๆ
    • หลีกเหลี่ยงการนั่งกับพื้น การนั่ง งอเข่า ชันเข่า นั่งพบเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่ง ยอง ๆ และเวลาขับถ่ายควรใช้ส้วมแบบนั่ง หรือใช้เก้าอี้เจาะรูวาง
    • หลีกเหลี่ยงการขึ้นที่สูง การขึ้นบันได้ บ่อย ๆ การยืนหรือการเดินนาน ๆ
    • ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีอาการปวดเข่า
  •  การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
    • ประโยชน์
      • ทำให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรง
      • ป้องกันการอักเสบ และ ชะลอความเสื่อมของเข่า
    • หลักการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
      • เป็นการบริหารโดยการเกร็งกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีวิธีการบริหาร 4 ท่า ในแต่ละท่า ทำประมาณ 10 ครั้ง ในเข่าแต่ละข้าง ดังจะได้อธิบายต่อไป
      • ไม่บริหารอย่างเร่งรีบ หรือหักโหม ควรบริหารอย่าง ช้า ๆ ด้วยความตั้งใจ บริหารทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
      • ในแต่ละท่าการบริหาร จะบริหารเข่าที่ละข้างหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้ ควรบริหารทั้ง สองข้าง ถึงแม้จะมีอาการปวดเข่าเพียงข้างเดียวก็ตาม
      • ไม่มีน้ำหนักกดที่เข่าขณะบริหาร
      • งดการบริหารขณะมีอาการปวดเข่ามาก ควรพักและใช้เข่าเท่าที่จำเป็นและให้เริ่มบริหารเมื่ออาการปวดเข่าทุเลาลงแล้ว
    • วิธีการบริหาร
      • ท่าที่ 1 นอนหงาย ศรีษะหนุนหมอนเหยียดขาตรงบนพื้นราบ เกร็งกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยขณะเกร็งใต้ท้องเข้าจะสนิทแนบกับพื้นตลอดเวลา เกร็งค้างไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่ ช้า ๆ ขณะเกร็งจะกระดกข้อเท้าขึ้นด้านบนด้วยก็ได้
      • ท่าที่ 2 นอนหงาย ศรีษะหนุนหมอนใช้หมอนข้างหรือหมอนหนุนศรีษะอีกใบหนึ่ง วางไว้ใต้เข่า ออกแรงต้นกดขากอดหมอนนี้ไว้ พร้อมกับเกร็งเหยียดส่วนของขาใต้เข่าให้ตรง เกร็งค้างไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่ (ท่านที่มีอาการปวดหลังไม่ควรบริหารท่านี้)
      • ท่าที่ 3 นั่งบนเก้าอี้หลังพิงพนักพิง เท้าวางราบกับพื้น หรือวางเท้าบนม้านั่งตัวเล็ก ๆ เพื่อไม่ให้เข่างอมาก เริ่มบริหารโดยวางต้นขานิ่ง ๆ บนเก้าอี้ พร้อมกับเกร็งเหยียดส่วนของขาใต้เข่าให้ตรงในระดับแนวตะโพก เกร็งค้างไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่และเริ่มบริหารใหม่
      • ท่าที่ 4 นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนักพิงไขว้ขาสองข้างซ้อนกัน โดยให้ขาข้างหนึ่งข้างใดอยู่ด้านบนก่อนก็ได้ แล้วออกกำลังเกร็งกดขาสู้กัน เกร็งสู้กันไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่สลับบริหารเข่าทั้งสองข้าง
การรักษา
  •  การทำกายภาพบำบัด เพื่อคงการเคลื่อนไว้ของเข่า และลดการอักเสบ
  •  การรักษาทางยา ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ไม่ซื้อยาใช้เอง เพราะยาที่ใช้จะเป็นยาแก้ปวด เมื่อใช้ไม่ถูกวิธี จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพผู้ป่วย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โลหิตจาง หรือมีอาการแพ้ยา
  •  การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ในผู้ป่วยแต่ละราย การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ
    • 1. การผ่าตัดกระดูกขาให้ตรง
    • 2. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และใส่ข้อเข่าเทียม
สรุป ข้อเข่ามีความหมายต่อสุขภาพ ขอให้ท่านสนใจเสียแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพของข้อเข่าที่แข็งแรงทุกวันในปัจจุบันและอนาคต
เนื้อหาดีๆจาก : Thairunning

ท่าบริหาร รักษาและบรรเทาข้อเข่าเสื่อม โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คนไข้หลายคนที่แวะเยี่ยมที่ร้าน โดยเฉพาะท่านผู้ที่เริ่มย่างสู่ประตูแห่งความชราภาพได้แก่มีอายุเกิน 40 ปีและท่านที่มีนำหนักตัวเกินปกติจนมีความอ้วนมาเบียดเบียน มักจะมีปัญหาคล้ายกันคือ มาบ่นว่าเจ็บข้อเข่าจังเลย ส่วนใหญ่พอเริ่มซักถามอาการและพฤติกรรมการใช้ชีวิตจะพบได้ว่าอาการเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าส่วนใหญ่ มักเนื่องจากข้อเข่าแบกรับน้ำหนักตัวพร้อมไปกับที่ข้อเข่าเริ่มเสื่อมไปตามวัย
การรักษาข้อเสื่อมให้หาย
ก็เริ่มต้นด้วยการให้ยาและทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย สำหรับท่านที่พึ่งติดตามบทความของบ้านนี้สามารถคลิ้กไปดูบทความการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้เลยครับ แต่บางรายที่เสื่อมอย่างมากก้ออาจอาจต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าซึ่งมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แล้วก็หากคนไข้ยังฝืนใช้ข้อผิด ไม่ดูแลรักษาอีก อาการข้อเสื่อมดังกล่าวก็พร้อมจะกลับมาราวีได้อีก ทางเภสัชกรชุมชนเราจึงอยากแนะนำการดูแลรักษาข้อเข่าอย่างถูกวิธีตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ท่านปวดน้อยลง กินยาน้อยลง และจะได้มีความสุขเมื่อยามขยับข้อเข่า เดินเหินออกกำลังกาย พาลูกจูงหลานเดินทางท่องเที่ยวได้  
ต้องกราบขอบพระคุณ นพ.สวัสดิ์ วิเศษสัมมาพันธ์และนพ.ฤทธิ์ ล้วนจำเริญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ ที่มาให้ความรู้เรื่อง "กระดูกข้อเข่าเสื่อม" ที่เจ๋งเป้งก็คืออาจารย์ทั้งสองและน้องๆทีมงานกายภาพบำบัดได้มา แนะนำท่าบริหารที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานข้อเข่า เป็นท่าบริหารง่ายๆ 5 ท่าที่ทำเองได้ทุกวัน ทุกสถานที่ และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ ให้เสียตังค์โดยใช่เหตุ แต่ละท่าท่านก็เริ่มต้นทำได้เอง ไม่ยุ่งยาก
ท่าบริหารง่ายๆ รักษาข้อเข่า
ท่าที่ 1 ชันเข่าเกร็งข้อ           
นอนราบไปกับพื้นหรือเตียงนอน จากนั้นชันเข่าขึ้นมาและยกขาอีกข้างขึ้นมาอย่างช้าๆ ประมาณ 45 องศา เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา ยกค้างไว้ 10 วินาที หรือนับ 1-10 ทำเช่นเดียวกันนี้ทีละข้าง ข้างละ 10 ครั้ง ทำซ้ำเป็นจำนวน 3 เซ็ต จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและช่วยแบ่งเบาการรับน้ำหนักที่บริเวณข้อเข่าได้อย่างดี

ท่าที่ 2 งอเข่าคร่อมหมอน      
นอนราบไปกับพื้นหรือเตียงนอน จากนั้นเอาขาพาดคร่อมไปบนหมอน แล้วดึงขางอเข่าทั้งสองข้างเข้ามาให้เท้าลอยจากพื้น เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาค้างไว้ 10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วเหยียดขาออกไป เกร็งกล้ามเนื้อขาค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำจำนวน 3 เซ็ต

ท่าที่ 3 เกร็งข้อพาดหมอน
นอนราบไปกับพื้นหรือเตียงนอน จากนั้นเอาขาพาดไปกับหมอนและยกขาขึ้นมาข้างหนึ่งอย่างช้าๆ ประมาณ 45 องศา เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา ยกค้างไว้ 10 วินาที หรือนับ 1-10 ทำเช่นเดียวกันนี้ทีละข้าง ข้างละ 10 ครั้ง ทำซ้ำจำนวน 3 เซ็ต
การบริหารท่านี้ช่วยให้การไหลเวียนเลือดของขาดีขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อขายืดหยุ่นมากขึ้น

ท่าที่ 4 คว่ำหน้าเกร็งข้อ
นอนคว่ำหน้าราบไปกับพื้นหรือเตียงนอน จากนั้นยกขาขึ้นมาข้างหนึ่งอย่างช้าๆ ประมาณ 90 องศา เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา ยกค้างไว้ 10 วินาที ทำเช่นเดียวกันนี้ทีละข้าง ข้างละ 10 ครั้ง ทำซ้ำเป็นจำนวน 3 เซ็ต ท่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าด้านหลังยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น

ท่าที่ 5 กระดกขา นั่งเกร็งข้‰อ
นั่งบนโต๊ะหรือเก้าอี้ที่สูงพอสมควรโดยให้เท้าสองข้างลอยจากพื้นพอประมาณ จากนั้นยกขาขึ้นมาทีละข้างช้าๆ ประมาณ 30 องศา เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเล็กน้อย ในขณะที่ยกขาค้างไว้ 10 วินาที ทำเช่นเดียวกันนี้ทีละข้าง ข้างละ 10 ครั้ง จำนวน 3 เซ็ต จะช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานและการไหลเวียนโลหิตบริเวณข้อเข่าดีขึ้น ช่วยแบ่งเบาการรับน้ำหนักที่บริเวณข้อเข่าได้

ยิ่งไปกว่านั้นอาจารย์ใจดีทั้งสองท่านยังมีหนังสือ "Bone & Joint รู้รักษา รู้ป้องกัน โรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุน" ซึ่งแนะนำท่าบริหารข้อเข่าให้แข็งแรง ท่านสามารถติดต่อขอได้โดยตรงที่โทร.0-2860-4561 เลยนะครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 27 พค. 2553
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address http://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท http://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2010/05
·         นพ.สวัสดิ์ วิเศษสัมมาพันธ์ และ นพ.ฤทธิ์ ล้วนจำเริญ ,"กระดูกข้อเข่าเสื่อม", โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
·         ข่าวสดรายวันบริหาร"ข้อเข่า" แกร่งยืนยาวถึงวัย80วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7119 http://www.khaosod.co.th

ข้อเข่าเสื่อม

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม
เข่าของคนเราเป็นข้อที่ใหญ่และต้องทำงานมากทำให้เกิดโรคที่เข่าได้ง่ายโรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการบวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท่าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบลง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุด
เมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน( cartilage )จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytesเมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นทำให้ข้อเข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ

ผิวข้อเข่าคนปกติ
ผิวข้อเข่าของคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบในผู้ป่วยสูงอายุ แต่ผู้ป่วยที่มีโรคข้อเรื้อรังเช่นโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ก็อาจจะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในขณะที่อายุยังไม่มาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายเนื่องจากความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย
อาการที่สำคัญได้แก่
  • อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่าหรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  • การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า
แพทย์จะวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร
หากท่านมีอาการปวดเข่าเรื้องรังเมื่อไปพบแพทย์หากสงสัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแพทย์ก็จะมีขั้น
ตอนการวินิจฉัยดังนี้
  1. ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเน้นทีการตรวจข้อเข่าซึ่งอาจจะพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่และมีการงอของข้อเข่า
  2. การถ่ายภาพรังสี ก็จะพบว่าช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ หากสึกมากก็ไม่พบช่องว่างดังกล่าว
  3. การเจาะเลือด การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดเข่าเรื้อรังเช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์
  4. การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ในกรณีที่เข่าบวมแพทย์จะเยาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงเข่าออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์
  5. การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อโกงงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี
  1. การรักษาทั่วไป
  2. การรักษาโดยการใช้ยา
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาทั่วไป
  • ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่น การยกของหนัก การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำเพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
  • การลดน้ำหนักซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่จะลดอาการปวดและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้
  • การออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารสามารถทำได้โดยการยืน มือเกาะกับเก้าอี้ ย่อตัวให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนตรงทำช้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะทำได้โดยนั่งบนเก้าอี้เหยียดขาเกร็งไว้ 10 วินาที่แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็วหรือการไหว้น้ำจะช่วยกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรง
  • เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะมีพื้นกันกระแทก
  • ให้ใช้เข่าเหมือนปกติ หากมีอาการปวดให้พักเข่า
  • ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลูกขึ้น อย่าหยุดใช้งาน
  • เวลาขึ้นบันไดให้ก้าวข้างดีขึ้นก่อน เวลาลงให้ก้าวข้างปวดลงก่อน มือจับราวบันได
  • ประคบอุ่นเวลาปวดเข่า
  • การทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูปรวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี
การบริหารกล้ามเนื้อ
การพักกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ดีสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม แต่ต้องมีการออกกำลังหรือบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม การออกกำลังจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น การบริหารมีให้เลือกหลายท่า การบริหารที่สามารถทำได้บ่อยๆวิธีง่ายๆสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
  1. นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ขาทั้งสองข้าง ให้ทำวันละ 1-3 ครั้งครั้งละ 5-15 นาที

  1. นั่งบนเก้าอี้ พักเท้าข้างหนึ่งไว้บนพื้น เท้าอีกข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ ให้กดเท้าทีวางอยู่บนเก้าอี้ลงหาพื้นนาน 5-10 วินาที่แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำข้างละ10 ครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา

  2. ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมาและเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้าให้นับถึง5- 10วินาที ทำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 เวลา ถ้าหากแข็งแรงขึ้นอาจจะถ่วงน้ำหนักที่ปลายเท้า

  3. ให้นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงขึ้นจากพื้นเกร็ง 1 ฟุต นับ 1-10  สลับข้างทำ ให้ทำซ้ำหลายๆครั้ง หรืออาจะเคลื่อนเท้าเป็นรูปตัวที ให้ทำวันละ 3 เวลา

  1. นอนหงาย หรือนั่งหาหมอนรองบริเวณข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนหนุนให้ติดพื้นให้นับ นาน 5-10 วินาทีพัก1 นาทีทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 3 เวลา ทำสลับข้างทำบ่อยๆ

  1. นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้เท้าข้างหนึ่ง แล้วดึงขึ้นมาให้สูงจากพื้น 4-5 นิ้วดึงไว้ 5-10 วินาที พักหนึ่งนาที่ ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 ครั้ง

  2. ให้ยืนหลังพิงกำแพง ให้เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วให้ยืนขึ้นทำ 5-10ครั้ง วันละ 3 เวลา

การรักษาโดยการใช้ยา
หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้
  1. ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
  2. ยาแก้อักเสบ steroid เมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  3. ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน
  4. ยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
  5. การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก
การผ่าตัด
ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากได้ผลดีและโรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธี
ดังนี้
  1. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรกที่เกิดจากการสึกออกมา
  2. การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
  3. การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น









วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรักษาด้วยการใช้ยาน่ากลัวจริงๆ

Acetaminophen

ข้อบ่งใช้
• ลดอาการปวดข้อ
ขนาดยา
• 500 มก. (10-15 มก./กก./ครั้ง) ทุก 6 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 4 กรัม
ข้อควรระวังในการใช้ยา
• ในผู้ป่วยที่มีโรคตับเรื้อรังหรือดื่มสุรา จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อตับ
• ไม่ควรใช้ยาในขนาดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ข้อห้าม
• แพ้ยากลุ่มนี้
ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดไม่จำเพาะ (Non-selective NSAIDs)
ข้อบ่งใช้
• ลดอาการปวดของข้อ
• ลดอาการอักเสบของข้อ
หลักในการใช้ยา
• เริ่มขนาดต่ำ ๆ ก่อน เมื่อไม่ได้ผลจึงพิจารณาเพิ่มขนาดของยา
• เลือกใช้ยาเพียงชนิดเดียวในแต่ละครั้ง
• ใช้ยาด้วยความระมัดระวังในกรณีต่อไปนี้

- ผู้ป่วยโรคตับควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะยาที่มี enter hepatic
recirculation (indomethacin) ยาที่เป็น prodrug (sulindac, nabumetone) และ ยาที่มีรายงานการ
เกิดตับอักเสบบ่อยหรือรุนแรง (meclofenamate diclofenac phenylbutazone nimesulide และ
naproxen) แต่กรณีจำเป็นและภาวะการทำงานของตับบกพร่องไม่รุนแรง อาจใช้ด้วยความ
ระมัดระวัง และติดตามผลการทำงานของตับอย่างใกล้ชิด
- ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs แต่ใน
กรณีที่การทำงานของไตบกพร่องไม่มากนัก และมีความจำเป็นต้องใช้ยา หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มที่ออก
ฤทธิ์นาน (long half life) แต่กรณีจำเป็นและภาวะการทำงานของไตบกพร่องไม่รุนแรง อาจใช้ด้วย
ความระมัดระวัง และติดตามผลการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด

- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ภาวะ
หัวใจล้มเหลว และหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรใช้ยาในขนาดต่ำ และ
ระยะเวลาสั้นที่สุด โดยติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืด (asthma) ลมพิษ (urticaria) หรือมีอาการแพ้หลังจาก
ได้รับยากลุ่มแอสไพริน
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลหรือเลือดออกในทางเดินอาหาร ได้แก่
อายุมากกว่า > 65 ปี มีประวัติในอดีตเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกทางเดินอาหาร มี
โรคร่วมบางอย่าง เช่น ตับแข็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต หรือใช้ยาบางอย่างร่วมด้วย เช่น
สเตียรอยด์ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ แต่กรณีจำเป็น พิจารณาใช้ยา
ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ยากลุ่ม Proton pump inhibitors เช่น
omeprazole, esomeprazole, pantoprazole, lansoprazole และ rabeprazole หรือยา Misoprostol

• ไม่ควรใช้ยาในขนาดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ข้อห้ามในการใช้ยา
• เมื่อแพ้ยาแอสไพริน และยาในกลุ่มนี้

ผลข้างเคียงของยา (กลุ่ม NSAIDs)

ระบบทางเดินอาหารและตับ
- ปวดจุกลิ้นปี่ ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น
เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และลำไส้อุดตัน กระเพาะอาหารทะลุ
- การทำงานของตับผิดปกติ ดีซ่าน ตับอักเสบ

ระบบทางเดินปัสสาวะ
- เนื้อไตอักเสบ กรวยไตตาย (papillary necrosis) มีการคั่งของน้ำและเกลือแร่
จากการทำงานของไตบกพร่อง

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
- มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ ประจำเดือนมามากหรือนานผิดปกติ

ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจวาย
- การนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจถูกปิดกั้น (Heart block)
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดอุดตัน (cardiovascular risk)

ระบบประสาทส่วนกลาง
- ปวดศีรษะ มึนศีรษะ เวียนศีรษะ ซึม ซึมเศร้า กระสับกระส่าย หงุดหงิด สับสน
นอนไม่หลับ


ระบบการได้ยินและการทรงตัว
- มีเสียงดังในหู

ระบบโลหิตวิทยา
- กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดไม่จับกลุ่ม
เกร็ดเลือดต่ำ

ระบบทางเดินหายใจ
- หอบหืด

ระบบผิวหนัง
- ผื่นแพ้ยา คันตามผิวหนัง ไวต่อแสง (photosensitivity) โรค Porphyria

Cutanea Tarda

การติดตามผลข้างเคียงของยา
• ติดตามอาการเลือดออกจากทางเดินอาหาร
• ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไตและตับเป็นระยะๆ

COX – II inhibitors

ข้อบ่งใช้
• ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดิน
อาหารจากยากลุ่ม NSAIDs

ข้อห้าม
• Celecoxib, Etoricoxib และ Lumiracoxib
- ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยา Celecoxib, Etoricoxib และ Lumiracoxib
- ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยา Sulfonamide (เฉพาะใน Celecoxib)

ขนาดและรูปแบบของยา
• Celecoxib 200 มก./วัน ให้วันละครั้ง
• Etoricoxib 60 มก./วัน ให้วันละครั้ง
• Lumiracoxib 100 มก./วัน ให้วันละครั้ง

ข้อควรระวัง
1. ผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืด (asthma) ลมพิษ (urticaria) หรือมีอาการแพ้ หลังจากได้รับ
ยากลุ่มแอสไพรินหรือยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยตั้งครรภ์ ผู้ที่ให้นมบุตร และผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 18 ปี
3. ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติมีแผลหรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ก็ควรหลีกเลี่ยง
การใช้ยา หากจำเป็นต้องใช้ก็ควรจะใช้ขนาดต่ำสุด และระยะเวลาสั้นที่สุดเพื่อการรักษา
4. ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง
ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หัวใจวาย peripheral arterial disease โรคกล้ามเนื้อ
หัวใจตายจากการขาดเลือด(established ischaemic heart disease) หรือ โรคหลอดเลือดสมอง
(cerebrovascular disease [stroke])
5. ไม่ควรใช้ยาในขนาดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ผลข้างเคียงของยากลุ่ม COX 2 inhibitors

อาการทั่วไป
- บวมทั่วตัว หน้าบวม อ่อนเพลีย มีไข้ อาการคล้ายไข้หวัด ปกติพบได้น้อย เกิด
ประมาณร้อยละ 0.1-1.9

ระบบทางเดินอาหาร

- ท้องผูก กลืนอาหารลำบาก หลอดอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้
อักเสบ gastroesophageal reflux ริดสีดวงทวาร hiatal hernia ถ่ายอุจจาระดำ ถ่ายอุจจาระลำบาก
คลื่นไส้-อาเจียน

ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการ
ขาดเลือด ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ระบบประสาท
- ตะคริวที่ขา กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวดศีรษะไมเกรน ปวดปลายประสาท เวียน
ศีรษะ

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
- เนื้องอกที่เต้านม ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ เลือดออกจากช่อง
คลอด ช่องคลอดอักเสบ

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
- ต่อมลูกหมากผิดปกติ

ระบบการได้ยินและการทรงตัว
- หูหนวก ปวดหู มีเสียงผิดปกติในหู (tinnitus)

ตับและทางเดินน้ำดี
- มีความผิดปกติในการทำงานของตับ มีการเพิ่มของ AST(SGOT), ALT(SGPT)
ไต
- มีโปรตีนในปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะเป็น
เลือด ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ นิ่วในไต ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

กระดูกและกล้ามเนื้อ
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ คอแข็งเกร็ง เอ็นอักเสบ เยื่อบุข้ออักเสบ

ระบบทางเดินหายใจ
- หลอดลมอักเสบ หลอดลมเกร็งตัว ไอ หอบเหนื่อย กล่องเสียงอักเสบ ปอด
อักเสบ

ผิวหนัง ผม เล็บ
- ผมร่วง เล็บผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ แพ้แสงแดด คัน ผื่นแดงนูน ผิวแห้ง เหงื่อ
ออกมาก

ระบบโลหิต
- จ้ำเลือด เลือดกำเดาไหล ซีด

ตา
- มองไม่ชัด ต้อกระจก ต้อหิน เยื่อบุตาอักเสบ ปวดตา

การรับรส

- รับรสเปลี่ยนไป

จิตใจ
- กังวล เบื่ออาหาร กินอาหารมากผิดปกติ ซึมเศร้า ง่วง นอนมาก

Tramadol

ข้อบ่งใช้
• ลดอาการปวดข้อ

ขนาดยา
• แคปซูล 50 มก. 100 มก. 3-4 แคปซูล/วัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง โดยเริ่มยาขนาดน้อย
และปรับขนาดยาครั้งละ 50 มก./วัน ทุก 3 วัน จนสามารถควบคุมอาการปวดได้ โดยขนาดสูงสุดไม่
เกิน 400 มก./วัน ผู้ป่วยอายุมากกว่า 75 ปี ไม่ควรใช้ยาเกิน 300 มก./วัน

ข้อห้ามในการใช้ยา
• ตับอักเสบ
• Acute intoxication with alcohol, hypnotics, analgesics or psychotropic drugs
• แพ้ยา tramadol หรือ opioids
• opioid-dependent patients

ข้อควรระวังในการใช้ยา
• ในรายที่เคยมีประวัติชัก และมีโอกาสชัก
• ไม่ใช้ยาร่วมกับยากลุ่ม MAOIs
• ลดขนาดยาเมื่อใช้ร่วมกับยากดประสาทส่วนกลาง (CNS depressants)
• มีความเสี่ยงในการชักเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่ม serotonin reuptake inhibitors,
tricyclic antidepressants, other cyclic compounds, neuroleptics, MAOIs และยาอื่นที่มีผล
lower seizure threshold
• ลดขนาดยา ในผู้ป่วย โรคตับ ไต myxedema, hypothyrodism, hypoadrenalism
• ไม่แนะนำให้ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ระบบประสาท
- ง่วงซึม เวียนศีรษะ การตัดสินใจผิดปกติ กดการหายใจ


ระบบทางเดินอาหาร
- ท้องผูก เบื่ออาหาร ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน

ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ความดันโลหิตต่ำ

ระบบทางเดินปัสสาวะ
- ปัสสาวะไม่ออก (micturation disorder)

ผิวหนัง
- ผื่นแพ้

การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ (Intraarticular steroids)

ข้อบ่งใช้
1. มีการอักเสบของข้อ หรือมีน้ำในข้อ
2. ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
3. ใช้เสริมฤทธิ์ร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ข้อห้าม
1. ภาวะติดเชื้อในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ
2. ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
3. ข้อหลวมคลอน (unstable joint)
4. กระดูกในข้อหัก (intraarticular fracture)
5. กระดูกรอบข้อบางหรือผุ (juxta-articular osteoporosis)
6. ไม่ตอบสนองต่อการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ

ผลข้างเคียง
• ติดเชื้อในข้อ
• ข้อสึกกร่อนรุนแรง (Charcot’s liked arthropathy)
• กระดูกขาดเลือด (osteonecrosis)
• ข้ออักเสบจากผลึกสเตียรอยด์


การฉีดน้ำไขข้อเทียม (Intraarticular Hyaluronic acid injection)

ข้อบ่งใช้
1. ผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการปวดข้อหลังจากได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา
และยาแก้ปวด
2. มีข้อห้ามในการใช้ยา Non-selective NSAIDs และ COX-2 inhibitors
3. ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมและไม่สามารถรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

ข้อห้าม
1. มีการติดเชื้อในข้อหรือบริเวณรอบข้อ
2. มีประวัติแพ้โปรตีนจากสัตว์ปีก (เฉพาะยาที่สกัดจากหงอนไก่)
ผลข้างเคียง
• ข้ออักเสบกำเริบภายหลังการฉีด
• ติดเชื้อในข้อ

Glucosamine sulphate

ข้อบ่งใช้
1. ผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการปวดข้อหลังจากได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา
และยาแก้ปวด
2. มีข้อห้ามในการใช้ยา Non-selective NSAIDs และ COX-2 inhibitors

ขนาดยา
Glucosamine sulphate ขนาด 1000-1500 มก./วัน

ข้อห้าม
ผู้ป่วยที่แพ้ glucosamine sulphate

ข้อควรระวัง
อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน


Diacerein

ข้อบ่งใช้
1. ผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการปวดข้อหลังจากได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา
และยาแก้ปวด
2. มีข้อห้ามในการใช้ยา Non-selective NSAIDs และ COX-2 inhibitors

ขนาดยา
Diacerein 50-100 มก./วัน

ข้อห้าม
ผู้ป่วยที่แพ้สาร anthraquinone (anthraquinone derivative)

ผลข้างเคียง
• ถ่ายเหลว
• ปัสสาวะสีเหลืองเข้มขึ้น
สนับสนุนโดยสุขภาพหัวเข่าดี ชีวิตก็ดีขึ้น

การบริหารข้อเข่า

การบริหารข้อเข่า

การบริหารกล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพิ่มความแข็งแรง ความทนทานและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
2. เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และป้องกันการติดของข้อ
3. เพิ่มความมั่นคงของข้อ
4. เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย

ประเภทของการออกกำลัง
1. การบริหารเพื่อพิสัยของข้อ (Range of motion exercise)
2. การบริหารเพื่อความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรอบข้อ (Strengthening and
endurance exercise)
3. การบริหารเพื่อความมั่นคงและความคล่องตัวของข้อเข่า (Closed kinetic chain exercise)
4. การบริหารเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย (Aerobic exercise)

1. การบริหารเพื่อพิสัยของข้อ (Range of motion exercise)

วัตถุประสงค์
1.1 ป้องกันข้อยึดติด
1.2 เพิ่มพิสัยของข้อ


วิธีการ

ท่าที่ 1 นอนหงาย งอเข่าเข้าหาลำตัวเท่าที่ไม่ปวด แล้วเหยียดขาออกไปจนสุด ทำซ้ำ
5-10 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำวันละ 2-4 รอบ


ท่าที่ 2 นอนคว่ำ งอเข่าเข้าหาลำตัว เท่าที่ไม่ปวด แล้วเหยียดออกไปจนสุด ทำซ้ำ 5-10
ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำวันละ 2-4 รอบ


ท่าที่ 3 นั่งเหยียดขา วางเท้าข้างหนึ่งบนหมอน หรือสมุดโทรศัพท์ เหยียดขาให้ตึง
เข่าตรง ค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง 5-10 ครั้ง ทำวันละ 2-
4 รอบ


2. การบริหารเพื่อความแข็งแรง และทนทานของกล้ามเนื้อรอบข้อ (Strengthening and
endurance exercise)

วัตถุประสงค์
2.1 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ได้แก่ Quadriceps และ
Hamstrings
2.2 เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ

ท่าที่ 4 นอนหงาย ใช้หมอนใบเล็กหนุนใต้เข่า ให้งอเล็กน้อย ค่อย ๆ เกร็งให้เข่า
เหยียดตรง ค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วพัก ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง และสลับไปทำอีกข้าง
หนึ่ง ทำวันละ 2-4 รอบ ถ้าต้องการเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ทำซ้ำเพิ่ม
ได้ถึง 20 ครั้ง โดยไม่ทำให้ข้อเข่าเจ็บปวด


ท่าที่ 5 นอนหงาย ชันเข่าข้างหนึ่ง ขาอีกข้างเหยียดตรง ค่อย ๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้า
ขา แล้วยกขาขึ้นจากพื้น 6-8 นิ้ว ค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วพัก ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำวันละ 2-4 รอบ


ท่าที่ 6 นอนคว่ำ งอขาข้างหนึ่ง สูงจากพื้น 6-8 นิ้ว ค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วพัก ทำซ้ำ
5-10 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำวันละ 2-4 รอบ


ท่าที่ 7 นั่งเก้าอี้ และพิงพนักเก้าอี้ เหยียดขาข้างหนึ่งออกให้ตรง พร้อมทั้งกระดกข้อ
เท้าขึ้น เกร็งค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วพัก ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้าง
หนึ่ง ทำวันละ 2-4 รอบ


หมายเหตุ
1. ท่าที่ 4-7 ถ้าต้องการเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ทำซ้ำ เพิ่มได้ท่าละ 20 ครั้ง โดยไม่
ทำให้ข้อเข่า
เจ็บปวด
2. ถ้าต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ให้ใช้น้ำหนัก 0.5-1 กิโลกรัม พันรอบ
ข้อเท้า แล้วทำตาม
วิธีการ ท่าต่าง ๆ เช่นเดิม ทั้งนี้จะต้องไม่ทำให้ เกิดความเจ็บปวดในข้อเข่า


3. การบริหารเพื่อความมั่นคงและความคล่องตัวของข้อเข่า (Closed kinetic chain
exercise)

วัตถุประสงค์
3.1 เพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า โดยกระตุ้นประสาท propioceptive joint
3.2 เพิ่มความคล่องตัวของข้อเข่า เพื่อความเตรียมพร้อมของชุดกล้ามเนื้อ
ขา และลำตัว สำหรับการใช้งานต่าง ๆ เช่น ลุก ยืน เดิน เป็นต้น

ท่าที่ 8 นั่งเก้าอี้ แล้วลุกยืน-นั่ง สลับไปมา 5-10 ครั้ง ทำวันละ 2-4 รอบ


หมายเหตุ
1. ท่าบริหาร 1-8 ไม่ควรทำขณะที่มีข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน
2. ควรเริ่มท่าบริหารจากท่าง่ายๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มไปยังท่าที่ยากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำทุกท่า
ในระยะเริ่มต้น เมื่อผ่านท่าง่าย ๆ ได้แล้ว จึงค่อยไปทำท่ายากขึ้น
3. กรณีที่บริหารท่าใดแล้วเกิดความเจ็บปวดในข้อเข่าหรือกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ ให้หยุดทำแล้ว
ปรึกษาแพทย์


4. การบริหารเพื่อสมรรถภาพทางร่างกาย (Aerobic exercise)

วัตถุประสงค์
4.1 เพิ่มสรรถภาพของปวด
4.2 เพิ่มสมรรถภาพของหัวใจ
4.3 เพิ่มความฟิตของร่างกาย


การออกกำลังกายที่เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย เรียกกันว่าการออกกำลังกายแอโรบิก
ได้แก่ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เดิน หรือ แอโรบิกในน้ำ รำมวยจีน ลีลาศ แนะนำให้ออกกำลังกาย
สม่ำเสมอ ครั้งละ 20-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน

ข้อควรระวังขณะออกกำลังกายแบบแอโรบิก
1. ขณะที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน ควรงดออกกำลังกาย
2. ขณะออกกำลังกายแล้วปวดตามกล้ามเนื้อและ/หรือ ข้อเข่า ให้หยุดออกกำลังกาย แล้ว
ปรึกษาแพทย์
3. เมื่อมีอาการวิงเวียงศีรษะ หน้ามืด ตาลาย คลื่นไส้ แน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ทัน ควร
หยุดออกกำลังกายทันที
4. ไม่กลั้นหายใจ ขณะออกกำลังกาย
สนับสนุนโดยสุขภาพหัวเข่าดี ชีวิตก็ดีขึ้น

เถาวัลย์เปรียง พบประโยชน์ทางยาหลายด้านทั้งบรรเทาปวดเมื่อ รักษาโรคข้อเสื่อม

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิจัยสรรพคุณสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง” พบประโยชน์ทางยาหลายด้านทั้งบรรเทาปวดเมื่อ รักษาโรคข้อเสื่อม ใช้ง่ายและสะดวก
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาดว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคน พบมากในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าและไม่สามารถทำงานหรือดำรงชีวิตได้อย่างปกติ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมคือการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องได้รับยาแก้ปวดร่วมด้วย ซึ่งได้แก่ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDS แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงคือระคายเคืองและทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารและยามีราคาแพง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง” ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
ผลการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบว่า สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยก่อนหน้านี้ได้ทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในสัตว์ทดลองพบว่า มีความปลอดภัยสูง ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมพบว่า ผู้ป่วยได้รับยาเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียด แน่นท้องซึ่งกลุ่มที่ได้ยาแผนปัจจุบันจะมีอาการเหล่านี้
นพ.มานิต กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบราคา สารสกัดเถาวัลย์เปรียง 400 มิลลิกรัมกับยาแก้อักเสบ NSAIDS พบว่า แคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีราคาไม่เกิน 10 บาท ส่วนยากลุ่ม NSAIDS ที่ระบุว่าไม่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมีราคาสูงกว่าประมาณ 4-6 เท่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขึ้นทะเบียนตำรับยาและอยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การเภสัชกรรมสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 0-2951-0000 ต่อ 99386 ในวันเวลาราชการ.-สำนักข่าวไทย
 “เถาวัลย์เปรียง” พบประโยชน์ทางยาหลายด้านทั้งบรรเทาปวดเมื่อ รักษาโรคข้อเสื่อม ใช้ง่ายและสะดวก
“เถาวัลย์เปรียง” พบประโยชน์ทางยาหลายด้านทั้งบรรเทาปวดเมื่อ รักษาโรคข้อเสื่อม ใช้ง่ายและสะดวก

บริหารกันและแก้เข่าเสื่อม

ช่วงนี้คนเป็นโรคปวดเข่ามีปริมาณมากขึ้น ตามความคิดเข้าใจว่าคนที่มีน้ำหนักมากเท่านั้นต้องเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเสมอ แต่ขณะนี้ได้มีผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแต่มีน้ำหนักธรรมดา มะหมี่ได้พูดคุยกับแพทย์ ถึงสาเหตุของการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์บอกว่าคนที่ใช้หัวเข่ามากจะเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนปกติ คนที่มะหมี่รู้จักบางคนน้ำหนักแค่ 55ก็ปวดเข่าจนเดินไม่ได้ฉะนั้นหากจะป้องกันก่อนหรือวิธีรักษาเมื่อรู้ว่าเป็นโดยการบริหารหัวเข่าตามรูปข้างล่าง ข้อมูลนี้ นำมาจากโรงพยาบาลพระราม 9 ศูนย์กระดูกและข้อพระรามเก้า

สาว ๆ อย่าลืมดูแลหัวเข่าลดปัญหาเสี่ยงเจ็บ!


สาว ๆ อย่าลืมดูแลหัวเข่าลดปัญหาเสี่ยงเจ็บ!

          คุณเคยมีอาการแบบนี้บ้างไหม...รู้สึกเสียวที่หัวเข่าเวลาเดินขึ้น-ลงบันได ปวดข้อเข่าเวลาอากาศเย็น,ชอบนั่งพับขานาน ๆ เป็นประจำ ต้องเดินหรือยืนนาน ๆ ถ้าคุณเคยมีอาการหรือลักษณะเช่นนี้ แสดงว่ามีสัญญาณของการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วค่ะ
          หัวเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ และทำงานมากในการรับน้ำหนักในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งในข้อเข่าจะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ แต่ก็จะลดน้อยลงไปทุกวัน ส่งผลให้เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็ จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อ และเกิดอาการเจ็บปวด โดยผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า!

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดข้อเข่าเสื่อม
1. น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากจะทำให้ข้อเข่ายิ่งเสื่อมเร็ว
2. การใช้ข้อเข่ามาก ๆ เช่น ผู้ที่นั่งยอง ๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนาน ๆ
3. การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก
4. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียง

บริหารข้อเข่า
          การบริหารข้อเข่า ควรเป็นการบริหารที่ไม่ทำให้เกิดแรงกดบนข้อเข่ามากเกินไป ยิ่งผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากไม่ควรออกกำลังกายโดยการกระโดดรุนแรง

ลองใช้ท่าต่อไปนี้บริหารเข่าดูค่ะ
1. ยืนตรง เท้าชิด หันด้านข้างเข้าหาบาร์ อาจจะเป็นตู้ หรือเก้าอี้ที่มั่นคง ซึ่งคุณแน่ใจว่าสามารถรองรับน้ำหนักของคุณได้
2. ย่อเข่าลง เก็บก้นและหน้าท้อง โดยดันสะโพกไปข้างหน้า
3. เขย่งปลายเท้าขึ้น ค้างไว้นับ 1-8 แล้วเอาลง ทำจนครบ 8 ครั้งต่อเซ็ตแล้วปลี่ยนข้าง
ที่มาข้อมูล: www.kapook.com