วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ผ่าตัด

มีอยู่ด้วยกัน4วิธีครับ คือ
1.การใช้ยารับประทาน/ยาทาภายนอก/ยาพ่น
2.การใช้ยาฉีดข้อเข่า
3.การฟื้นฟูข้อเข่า
4.แพทย์ทางเลือก
ที่นี้มาดูรายละเอียดในแต่ละวิธีกันครับ

การใช้ยารับประทาน/ยาทาภานอก/ยาพ่น
ยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ยิ่งปวดมากก็ยิ่งต้องใช้ยากที่แรงมากขึ้น
ซึ่งยิ่งแรงก็ยิ่งมีผลข้างเคียงสูง ยาทาก็มีทั้งยาที่ลดปวดบางชนิดก็ลดอักเสบได้
แต่ยาทามีขอเสียที่จะเห็นผลแค่2สัปดาห์แรกเท่านั้น ถ้าใช้นานกว่านั้นก็ไม่ต่างกับ
การใช้ยากหลอกที่ไม่ได้ผสมตัวยาครับ  ส่วนยาพ่นทำมาเพื่อลดผลข้างเคียง
ทางเดินอาหารของยาทาที่ต้านการอักเสบ ใช้สะดวกดูดซึมเร็วไม่เหนียวเหนอะหนะ

การใช้ยาฉีดเข้าข้อ
มีด้วยกัน2กลุ่มคือ กลุ่มยาต้านอักเสบกับ
กลุ่มยาที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า
ซึ่งยาต้านอักเสบจะเป็นกลุ่มสเตียรอยด์
ลดการอักเสบได้ดีเห็นผลเร็วแต่ออกฤทธิ์สั้น
ผลข้างเคียงน่ากลัวเพราะไประงับกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
เมื่อผู้ที่ปวดเข่าหายปวดก็จะใช้งานมากขึ้น
พอฤทธิ์ยาหมดจะปวดมากกว่าเดิม
เพราะข้อสึกหรอมากขึ้นจากการที่เดินมากตอนหายปวด
ส่วนยาเพิ่มคุณสมบัติน้ำหล่อเลี้ยงข้อ
ออกฤทธิ์ช้ากว่ามากแต่ปลอดภัยกว่า
ผลข้างเคียงน้อยและราคาแพง
การใช้ยานี้เหมือนการซื้อเวลาใช้งานข้อ
เพราะมีอายุใช้งานประมาณ3-6เดือน
และต้องฉีด3-5สัปดาห์ต่อเนื่องโดยฉีด1เข็มต่อสัปดาห์
อาการจะหายนานขนาดไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

การฟื้นฟูข้อเข่า
มีด้วยกันหลายอย่างเช่น
การใช้ความร้อนประคบเพื่อลดการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ทำการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง
ออกกำลังกายแบบแอโรบิคบนบกหรือในน้ำ
การใช้สนับเข่าล็อคเพื่อช่วยประคองข้อให้กระชับ
เสริมรองเท้าด้านนอกเป็นรูปลิ่มเพื่อกระจายการลงน้ำหนักที่ข้อเข่า
การใช้เครื่องช่วยเดินไม่ว่าจะเป็นไม้เท้าหรือโครงโลหะ
และควรศึกษาหาความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรค
รวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง

และสุดท้ายแพทย์ทางเลือก
คือเกิดจากที่ผู้ป่วยเป็นผู้เลือกจากความชอบส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นการนวดไทยหรือการฝังเข็ม
การนวดก็จะช่วยคลายกล้ามเนื้อซึ่งสาเหตุของการปวดเข่า
เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นเยอะการนวดจึงช่วยบรรเทาได้
ส่วนการฝังเข็มเป็นความเชื่อที่ว่าเป็นผลมาจาก
การกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟินที่อยู่ในสมอง
ซึ่งจะช่วยลดการปวดได้ โดยที่การนวดและ
การฝังเข็มจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ภายในข้อเข่าใดๆทั้งสิ้น

เพื่อนๆชอบอย่างไหนก็เลือกกันเลยนะครับ
แต่สำหรับคนที่ยังไม่เป็นผมคิดว่าควรจะดูแลร่างกาย
เพื่อไม่ให้เป็นจะดีที่สุดครับ
สำหรับใครที่เป็นแล้วหรือยังไม่เป็นแล้วต้องการดูแลเข่าเหมือนผม
ผมยินดีแบ่งปันให้ทุกคนครับ
วิธีการบริหารร่างกายก็อยู่ในเวปแล้ว
ส่วนถ้าใครต้องการอาหารเสริมช่วยก็ที่นี่เลยครับ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล

ใครที่ไม่อยากพลาดบทความของผม
ติดต่อผมได้ในเฟสบุค และ ยูทูป ครับ
facebook
Youtube
เพราะวันไหนที่ผมลงบทความใหม่ๆ
ผมจะทำการอัพเดทลงที่เฟสบุคและยูทูปครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมื่อข้อเข่าเสื่อมเกิดผลกับชีวิตประจำวันอย่างไร

เมื่อป่วยย่อมมีผลต่อการดำรงชีวิตแน่นอน
ยิ่งป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยแล้วหล่ะก็
มีผลอย่างมากเลยครับเพราะเป็นส่วนที่ใช้เดินทุกวัน
บางคนอาจจะมีผลมาก บางคนอาจจะมีผลน้อย
ก็ต้องปรับตัวกันไปตามสภาพนะครับ
ผลที่มีต่อการดำเนินชีวิตหลักๆมีประมาณนี้นะครับ
- เดินไม่สะดวก เดินแล้วปวด เดินไกลไม่ได้
- นั่งกับพื้นแล้วลุกเองไม่ได้ ลุกลำบาก ต้องมีคนฉุดขึ้น
- นั่งยองๆไม่ได้ ทำให้นั่งส้วมซึมไม่ได้
  ต้องนั่งเหยียดขาออกไปด้านหน้า ลุกก็ยาก
- ขึ้นลงบันไดอย่างยากลำบาก ต้องเกาะเหนี่ยวราวตลอด
  บางรายถึงกับต้องโหน บางรายต้องขึ้นทีละขาสลับไม่ได้
- นั่งเก้าอี้เตี้ยๆแล้วลุกยากเพราะแรงขาไม่มี
- นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิไม่ได้ ถ้านั่งจะปวดมาก
- ทำงานบ้านไม่ได้ เพราะก้มเงยลำบาก
- ไปไหนมาไหนเองไม่ได้ ต้องมีคนคอยประกบ
  เพราะจะล้มเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบเนื่องจากขามีกำลังน้อย
เพื่อนๆเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเนี่ย
มันทำให้เกิดอาการฝืด อาการปวด
กล้ามเนื้อรอบเข่าลีบเล็กลง
ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
ของเพื่อนๆเป็นอย่างมาก ทำอะไรก็ไม่สะดวก
ทำอะไรที่อยากทำก็ไม่ได้
ดังนั้นเพื่อนๆจึงควรดูแลรักษาหรือ
ป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวจะดีที่สุดครับ
สำหรับคนที่เป็นหนักแล้วหรือเริ่มเป็น
ก็พยายามดูแลตัวเองให้ดีขึ้นนะครับ
อาจจะหายได้หากดูแลอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ
ด้วยความห่วงใยต่อเพื่อนๆทุกคนนะครับ
อยากให้เพื่อนๆทุกคนมีข้อเข่าที่ดี
จะได้ทำอะไรที่ต้องการได้ครับ

ข้อฝืด ข้อบวมเกิดจากอะไร

ถ้าคุณมีคนรู้จักเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
ลองถามอาการเค้าดูสิครับว่าข้อเข่าฝืดเป็นอย่างไร
อาการนี้จะเกิดกันคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมครับ
ซึ่งจะมีอาการในช่วงเช้า
ความรู้สึกจะเหมือนว่าไม่มีน้ำหล่อลื่น
พอได้ขยับไปขยับมาสักพักก็จะดีขึ้น
เดินได้ ใช้งานได้ แต่ถ้าใช้งานมาก
ตอนเย็นข้อก็จะบวม
สาเหตุก็คือ การที่ข้อฝืดนั้นเกิดจาก
การไม่ได้ใช้งานข้อเข่าเลย
จึงไม่มีการปั๊มน้ำไปหล่อลื่น
แต่พอใช้มากเกินไปทำให้
การดูดซึมน้ำกลับทำไม่ทัน
จึงทำให้เกิดข้อบวมเพราะมีน้ำมากเกินไป
ในทุกๆวันก็จะมีการสร้างน้ำหล่อลื่นใหม่และดูดซึมกลับ
สำหรับคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว
สารหล่อลื่นจะมีความหนืดน้อยลง
ทำให้เสียความสมดุลในการหล่อลื่นที่ดีไป
ข้อก็จะเคลื่อนไหวไม่เหมือนคนปกติครับ

เมื่อเพื่อนๆรู้อย่างนี้แล้ว
ผมหวังเป็นอย่ายิ่งว่าเพื่อนๆจะให้ความสำคัญกับ
การดูแลหัวเข่าของเพื่อนๆเองครับ
ขอให้เพื่อนๆทุกคนมีสุขภาพเข่าที่แข็งแรงครับ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล

หน้าที่ของข้อเข่า

ข้อเข่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ช่วยให้เราสามารถยืน
เดินขึ้นลงบันได นั่งยองๆ หรือไปไหนมาไหนด้วยตนเองได้
เมื่อข้อเข่าเสื่อมหรือใช้การไม่ได้แล้ว
การดำเนินชีวิตของเพื่อนๆก็จะเปลี่ยนไป
ไม่ว่าจะเดินไม่สะดวก ไม่คล่องแคล่ว
ขึ้นลงบันไดลำบาก นั่งพื้นไม่ได้
ใช้ส้วมซึมลำบาก นั่งแล้วลุกลำบาก
หรือนั่งที่เตี้ยๆแล้วลุกไม่ไหว
แล้วสุดท้ายอาจจะถึงขั้นเดินไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นเรามาดูแลมัน
ก่อนที่มันจะไปจากเราดีกว่าครับ
มันจะได้อยู่ให้เราใช้งานไปอีกนานครับ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เข่า ข้อต่อ ต้องดูแล

ปวดข้อ แค่เลี่ยงการกินไก่อาจยังไม่พอ... แนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูแลกระดูกข้อต่อ ชะลออาการด้านกระดูกด้วยตัวเอง

เริ่มต้นจาก "การกำจัดน้ำหนักส่วนเกิน" ทั้งบริเวณหัวเข่าและข้อต่ออื่นๆ (ว่ากันว่า น้ำหนักแต่ละปอนด์ที่ลดไป สามารถลดแรงกระแทกที่เข่าได้ก้าวละถึง 4 ปอนด์)

"การออกกำลัง" หมั่นบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อให้แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดบริเวณกระดูกข้อต่ออ่อนๆ "อิริยาบถที่ถูกต้อง" นั่งตัวตรง หลังตรง ยืนตรง ท่าทางต่างๆ ที่ถูกต้องสามารถช่วยปกป้องข้อต่อ คอ หลัง เอว ข้อศอกและหัวเข่าได้ด้วย

หลีกเลี่ยงการนั่งโดยไม่ขยับเขยื้อนเป็นเวลานานๆ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดอาการปวดเกร็ง หรือเมื่อไรที่ต้องขยับก็ต้องขยับอย่างระมัดระวัง ควรใช้ข้อต่อที่แข็งแรงเมื่อต้องยกหรือแบกของ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อชิ้นเล็ก เช่น การถือของช็อปปิ้งด้วยการพาดบนแขนแบบสาวญี่ปุ่น ถ้ามีกิจกรรมที่ต้องใช้งานข้อต่อหนักๆ ควรหาช่วงพักเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันอาการเกร็งซ้ำๆ ที่ข้อต่อ ซึ่งหากรับแรงกระแทกมากๆ ก็อาจฉีกขาดได้

ที่สำคัญคืออย่าหักโหม การออกกำลังกายที่ต้องกระโดดหรือกีฬาบางประเภทอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อของคุณได้เช่นกัน ! 
แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ


ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจมากๆครับ
ที่ได้ให้ความรู้อันมีค่าคนไทยจะได้ห่างไกลจากโรค
ปวดข้อปวดเข่าครับ

การดูแลข้อเข่าเสื่อม

ต้องขอโทษด้วยที่หายไปหลายวันนะครับพอดีง่านยุ่งมากๆ
เหนื่อยจัดเลยไม่ได้มาให้ความรู้นะครับ
แต่วันนี้จะมาชดเชยให้เหมือนเดิมครับ
แล้วผมก็เห็นบทความดีๆจากสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
จึงเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้ทราบและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้กับข้อกระดูกหลายส่วนของร่างกาย แต่ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือ ข้อเข่า พบได้ประมาณ ครึ่งหนึ่งของโรคข้อเสื่อม ถือเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบชนิดหนึ่ง พบได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ พบมากกว่าร้อยละ 80-90

ปัจจัย ที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

1. อายุ มักพบในอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบบ่อยในผู้สูงอายุ
2. น้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น
3. อุบัติเหตุ หรือการใช้ข้อไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น
4. การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน ที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อในข้อเข่า การฉีดยา หรือสารเคมีเข้าในข้อเข่า

อาการของโรคข้อเสื่อม

1. เริ่มจากปวดข้อเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อมาก หากเป็นมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา อาจจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
2. ข้อฝืด ยึดตึง ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด เช่นในช่วงตื่นนอนตอนเช้า เมื่อเคลื่อนไหวในครั้งแรกจะไม่คล่องตัว
3. มีเสียงดังในข้อเข่า ขณะที่มีการเคลื่อนไหว
4. ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อ อาจมีการโป่งนูนของข้อ
5. ข้อเข่าคด ผิดรูป หรือเข่าโก่ง

วิธีการรักษาทั่วไป

การ รักษามุ่งเน้นเพื่อการลดปวดหรือการอักเสบ ในขณะเดียวกันจะพยายามทำให้ข้อเคลื่อนไหวเป็นไปตามปกติ ซึ่งมีแนวทางการรักษาทั่วๆไปดังนี้

1. ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง
2. บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
3. ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด
4. ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อ
5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่นนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ
6. ลดน้ำหนักในรายที่อ้วนมาก เพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนักผ่านลงที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
นอกจากนี้ มีการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น การรักษาโดยการผ่าตัดและการใช้ยา ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า

ท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ งอเข่าทั้งสองข้าง เท้าวางราบกับพื้น ค่อยๆยกขาขึ้นจนเข่าเหยียดตรงเกร็งค้างไว้นับ 1-10 งอเข่าลงช้าๆ ให้เท้าวางกับพื้น เหมือนเดิม ทำ 10-20 ครั้ง สลับขาซ้าย-ขวา

ท่านอน นอนหงาย ใช้หมอนเล็กๆ หนุนใต้เข่าทั้งสองข้าง เหยียดเข่าให้ตรง แล้วยกขึ้นตรงๆ ให้ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุต เกร็งไว้นาน 5-10 วินาทีแล้วลดลง สลับเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง ทำข้างละ 10-15 ครั้ง วันละ 2 เวลา

ขอให้ทุกท่านหมั่นดูแลตัวเองนะครับ
แล้วจะพบกับความสุขกันถ้วนหน้า
มีเข่าไว้ใช้ไปอีกนานแสนนาน

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีบริหารข้อเข่า

พอดีเล่นเน็ทเพลินๆแล้วเปิดไปเจอครับ
เห็นว่าดีมีประโยชน์เลยนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้
เอาไปลองทำดูครับข้อเข่าจะได้แข็งแรง
อยู่กับเราไปนานๆ
หมั่นดูแลสุขภาพให้ดีไว้นะครับ
คงไม่มีใครอยากจะป่วยก่อน
แล้วค่อยรักษาหรอกใช่ม๊า
ดังนั้นก็หาวิธีการดูแลรักษา
สุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี
จะได้ไม่ต้องทรมานกับความเจ็บปวดครับ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างไร

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่มีความผิดปกติเริ่มต้นที่กระดูกอ่อนผิวข้อ
ซึ่งเกิดรอยแตก กร่อน และถูกทำลายไปจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ กระดูกอ่อนเป็นส่วนที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยมาก
เซลล์ไหนที่ตายก็ไม่มีเซลล์ใหม่ที่จะเกิดมาทดแทนได้
จึงทำให้กระดูซ่อมแซมตัวเองได้อย่างจำกัดมากๆครับ
เซลล์มีชีวิตอยู่เพราะได้รับอาหารโดยผ่านน้ำหล่อลื่นภายในข้อ
ผลิตโดยเซลล์บุผิวข้อ การปั๊มสารอาหารนี้เกิดจากการขยับงอและเหยียดข้อ
หรือมีน้ำหนักกดไปที่ข้อเข่า ซึ่งจะมีหมอนรองเข่าช่วยกระจายแนวแรง
ให้ทั่วข้อเข่าจึงไม่เกิดแรงกดมากบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

อาการแสดงขอโรคที่พบบ่อยๆนะครับ
- ปวดข้อเข่า อาการจะมากขึ้นเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนักที่ข้อเข่า
ในขณะที่พักเข่าจะมีอาการทุเลาลง แต่ถ้าเป็นรุนแรงจะปวดตลอดแม้ว่าจะพัก
- ข้อฝืด มักพบช่วงเช้า บางคนอาจเป็นได้ลังการใช้งานนานๆ
- มีเสียงขณะเคลื่อนไหว
- ไม่สามารถเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามต้องการได้
- กล้ามเนื้อต้นขาลีบส่วนใหญ่เป็นจากการที่ข้อเข่าเสื่อมมานานแล้ว
- ข้อเข่าบวมเพราะมีการอักเสบ
- ข้อผิดรูปเพราะข้อเข่าเสื่อมมานาน
- ข้อหลวมและไม่มั่นคง
- มีท่าเดินที่ไม่เหมือนคนปกติ

อาการของโรคนี้มีความรุนแรงต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
และระยะเวลาการดำเนินโรค เพราะฉะนั้นทางทีดีนะครับ
หมั่นดูแล และ บำรุงรักษาข้อเข่าของท่านไว้ให้ดีๆ
จะได้มีให้ท่านใช้เดินไปได้เท่าที่ต้องการ
แถมยังไม่ต้องทนทรมานกับการเจ็บปวด
หวังว่าทุกท่านคงจะเอาใจใส่เข่ามากขึ้นนะครับ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รู้จักข้อเข่าของเราครับ

ข้อเสื่อมนั้นเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย
โดยเฉพาะข้อเข่าเป็นมากที่สุดสำหรับคนไทยเราเลยนะครับ
เพราะวัฒนธรรมของเราชอบนั่งพื้นไงครับ
ไม่ว่าจะนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ
แต่ที่หนักที่สุดคือการนั่งยองๆในสุขาครับ
เพราะเป็นตัวการหลักเลยหล่ะครับ
ที่จะทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคต

ส่วนประกอบของข้อเข่า
ข้าเข่าคือส่วนที่เชื่อมระหว่างส่วนปลายกระดูกต้นขา
และส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง โดยอาศัยเอ็นหุ้มข้อ
และเอ็นภายในข้อเข่า2คู่ คือเอ็นไขว้หน้าและไขว้หลัง
ซึ่งเอ็นเนี่ยจะเป็นส่วนที่ได้รับบาดเจ็บบ่อยครับ
และมันก็เป็นสาเหตุทำให้ข้อหลวมได้
ส่วนที่สำคัญในข้อเข่าคือหมอนรองเข่า
มันป้องกันการสะเทือนเมื่อเคลื่อนไหว
มันจะแตกหักได้จากการได้รับอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณข้อเข่า
และจะพบปัญหาเข่าทรุดบ่อยๆในหนุ่มสาวครับ
กระดูกอ่อนเป็นส่วนสำคัญของข้อเข่าอีกอย่างหนึ่ง
เพราะส่วนนี้จะทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่นไม่สะดุดไม่มีเสียง
และส่วนนี้เองที่จะสึกหรอเมื่อมีการใช้ข้อเข่านานๆแบบที่ไม่ถูกต้อง
มันจะทำให้เกิดเสียงเมื่อขยับหรือเคลื่อนไหวได้
เยื่อหุ้มเข่าจะมีเซลล์บุผิวข้อซึ่งผลิตสารน้ำหล่อลื่น
ถ้ามีน้ำมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการปวด
และเข่าอาจจะบวมจากการที่ลูกสะบ้าลอยน้ำได้
สำหรับบทความนี้ขอจบเพียงเท่านี้ครับ
หวังว่าทุกท่านที่สนใจจะให้ความสำคัญกับการ
ดูแลข้อต่อของท่านเองมากขึ้นนะครับ
โดยเฉพาะข้อเข่าเพราะว่าเราใช้มันตลอดครับ
หมั่นดูแลรักษามันให้ดีมันจะได้อยู่ให้เราใช้งานไปอีกนานแสนนานครับ
ห่วงใยทุกท่านเสมอครับ
แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปครับ
สวัสดีครับ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีรักษาข้อเข่าที่ได้ผลดี

วิธีการรักษาที่ได้ผลดี เสียค่าใช้จ่ายน้อย ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง คือ
  • การลดน้ำหนัก
  • การบริหารข้อ และ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ข้อแนะนำในการรักษาด้วยตนเอง ดังนี้
  1. ลดน้ำหนักตัว เพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนักลงที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่ง น้ำหนักจะลงที่เข่าเพิ่มเป็น 5 เท่าของน้ำหนักตัว
  2. ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ ก็จะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของเข่าก็จะช้าลงด้วย
  3. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี
  4. ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งดังกล่าวจะทำให้ ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมากขึ้น ข้อเข่าก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
  5. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มีรูต้องกลาง วางไว้เหนือ คอห่าน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขา ถูกกดทับ เลือดจะไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี ทำให้ขาชา และมีอาการอ่อนแรงได้
  6. ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่งหรือใช้เชือก ห้อยจากเพดานเหนือโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัว เวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
  7. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี
  8. ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
  9. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
  10. หลีกเลี่ยงการยืนหรือ นั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่าหรือขยับเหยียด-งอข้อเข่า เป็นช่วง ๆ
  11. การยืน ควรยืนตรง ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
  12. ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้าง-หนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวด และข้อเข่าโก่งผิดรูปได้
  13. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย(สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ แบบที่ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป
  14. ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกันเช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือทางเดินที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  15. ควรใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดิน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการปวดมากหรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยลดน้ำหนักตัวที่ลงบนข้อเข่าและช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม แต่ก็มีผู้ป่วยที่ไม่ยอมใช้ไม้เท้า โดยบอกว่า รู้สึกอายที่ต้องถือไม้เท้า และไม่สะดวก ทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น และ เสี่ยงต่ออุบัติเหตุหกล้ม
  16. สำหรับวิธีการถือไม้เท้านั้น ถ้าปวดเข่ามาก ข้างเดียวให้ถือไม้เท้าในมือด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดเข่าทั้งสองข้างให้ถือในมือข้างที่ถนัด
  17. บริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่า ให้แข็งแรง เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดีขึ้น และสามารถทรงตัวได้ดีขึ้นเวลายืน หรือ เดิน
การออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่ามากนัก เช่น การเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น
โรคข้อเข่าเสื่อมรักษาไม่หายขาด แต่ก็มีวิธีที่ทำให้อาการดีขึ้นและชะลอความเสื่อม ให้ช้าลง ทำให้ท่านสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะทำได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ความตั้งใจของท่านเองเป็นสำคัญ
โดย  นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์  ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

เห็นไหมหล่ะครับเพื่อนๆกับวิธีการรักษาด้วยตนเองที่ได้ผลดี
ต้องขอบคุณคุณหมอมากนะครับกับความรู้ดีๆ
ยังไงเพื่อนๆก็ลองไปใช้ดูนะครับ
ขอให้เพื่อนๆและครอบครัวแข็งแรง
และห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อมครับ

108 คำถามที่เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม


เหตุใดโรคข้อเสื่อมจึงเกิดที่ข้อเข่ามากที่สุด
เข่า เป็นข้อต่อที่มีความซับซ้อนมากที่สุดข้อหนึ่ง ในร่างกาย เพราะเป็นข้อต่อระหว่างกระดูก
ต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นกระดูกส่วนที่ยาวที่สุดของร่างกาย และนอกจากนี้ยังต้อง
รองรับการหมุน พับ และกางออกตามความต้องการในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการปวดที่ข้อเข่าจะทำให้การเคลื่อนไหวถูกจำกัดอย่างมาก ทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกอ่อนแอและ
ไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมปกติที่คนทั่วไปทำได้ เช่นการเดินหรือการขึ้นบันได

อะไรเป็นสาเหตุของการปวดของข้อเข่า
โดยทั่วไปแล้ว ในข้อเข่าที่เป็นปกติ จะมีช่องว่างระหว่างข้อต่อ ซึ่งจะมีของเหลวที่มีลักษณะ
ข้นมากบรรจุอยู่เรียกว่า น้ำเลี้ยงข้อ (Synovial Fluid) ซึ่งจะคอยทำหน้าที่เหมือนเบาะ
รองรับข้อต่อ ในผู้ที่มีอาการข้อเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความข้นและความยืดหยุ่นลดลงกว่าปกติ
ทำให้คุณสมบัติการรองรับแรงกระแทกเมื่อมีแรงกดลงที่ข้อเข่าเสียไป
กระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ป้องกันปลายกระดูกของกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะเกิดการ
กระทบกระแทกและเสียดสีกันซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดที่เกิดขึ้น

เราสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยวิธีปกติการรักษาการเสื่อมของข้อเข่า จะขึ้นกับความรุนแรงของโรค ในระยะแรกของ
โรคข้อเสื่อม มักจะใช้ยาแก้ปวดธรรมดา เช่นพาราเซ็ตตามอล แอสไพริน หรือยาต้านการ
อักเสบ (NSAIDs) หรืออาจใช้ยาทั้งสองร่วมกัน และทำกายภาพบำบัด รวมทั้งการหมั่น
ออกกำลังกายเป็นปกติ ควบคุมน้ำหนักตัว และรับประทานอาหารให้เหมาะสม  ซึ่งอาจจะ
เพียงพอที่จะลดอาการปวดได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาทย่ต้านการอักเสบ มักทำให้เกิดผลข้างเคียง
ที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถใช้ยานี้ได้ ทางเลือกต่อมาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการ
ใช้ยาฉีดเฉพาะที่กลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Local cortisone injection) เพื่อลดการ
อักเสบของข้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดและการสูญเสียการเคลื่อนไหวของข้อ

การรักษาโรคข้อเสื่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ในปัจจุบัน
ปัจจุบันเรามีทางเลือกใหม่ในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยใช้วิธี
Viscosupplementation  ด้วยการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปแทนที่น้ำเลี้ยงข้อ
ที่เสื่อมสภาพ ทำให้ข้อเข่ากลับสู่สภาพใกล้เคียงปกติได้

ข้อดีของการรักษาแบบ Viscosupplementation มีอะไรบ้าง
วิธี Viscosupplementation ด้วยการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปแทนที่น้ำเลี้ยงข้อที่เสื่อม
สภาพ สามารถลดหรือกำจัดอาการปวดข้อได้ประมาณ 6 เดือนหรือมากกว่า ลดการติดของข้อ
ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ได้ใกล้เคียงปกติ

น้ำเลี้ยงข้อเทียมทำงานอย่างไร
น้ำเลี้ยงข้อเทียม จะเข้าไปแทนที่หรือช่วยเสริมน้ำเลี้ยงข้อเข่าที่เสียไปจากโรคข้อเสื่อม
ซึ่งน้ำเลี้ยงข้อเทียมจะมีความยืดหยุ่น และความหนืดใกล้เคียงน้ำเลี้ยงในข้อเข่าคนปกติ
ช่วยทำหน้าที่รับแรงกระแทกและหล่อลื่นในข้อเข่า


การรักษาด้วยการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมปลอดภัยหรือไม่
เนื่องจากน้ำเลี้ยวข้อเทียมออกฤทธิ์ทางกายภาพเฉพาะที่ต่อข้อเข่ามากกว่าการที่จะออกฤทธิ์
ทางเคมีต่อร่างกายโดยรวม ดังนั้นจึงไม่มีผลข้างเคีบงเหมือนการรักษาโดยการทานยา

ผู้ป่วยแบบใดจะได้รับผลดีที่สุดจากการรักษาโดยฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง ความเจ็บปวด
ที่ทำให้ผู้ป่วยเหล่านั้นจำเป็นต้องจำกัดกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน จะได้รับผลดี
จากการรักษาด้วยน้ำเลี้ยงข้อเทียมสูงสุด และในผู้ป่วยที่ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง
จากการใช้ยา โดยเฉพาะยาต้านอักเสบ

เพื่อนๆอยากเป็นโรงนี้แล้วต้องแก้ด้วยวิธีพวกนี้ไหมหล่ะครับ
ถ้าไม่อยากหล่ะก็หมั่นดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง
หาอะไรก็ได้มาดูแลข้อต่อไม่ว่าจะเป็นการบริหาร
การกิน การออกกำลังกาย และหมั่นทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
แล้วเพื่อนๆจะกับกับชีวิตทที่เปลี่ยนไป
อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีครับ