อาหารที่ทานกับการเป็นเกาต์ (Men's Health)
เรื่องโดย เจดีย์
ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ เขียนข้อความชวนอมยิ้มไว้ว่า "หลายคนมองว่าเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และเห็นภาพเจ้าตัวพุงพลุ้ยนั่งกระดกเบียร์เป็นเหยือก ๆ แกล้มขาหมูทอดมัน ๆ" ซึ่งอันที่จริงแล้วเกาต์เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกชนชั้น และทุกวรรณะต่างหากล่ะ
ทั้งนี้เกาต์จะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดมากจนเกินไป แล้วตกตะกอนภายในข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรืออาจเกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้
มีรายงานจาก หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ระบุว่า เกาต์มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ร่างกายของเรา อาจมีความสามารถในการขับกรดยูริคได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า กรดยูริคในเลือดที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดจากร่างกายผลิตเอง หลายท่านเลยให้ความเห็นว่า ดังนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยโรคเกาต์งดอาหารที่มีสาร "พิวรีน" (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค)
อย่างไรก็ตามมีแพทย์หลายท่านให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ทานอาหารบางอย่าง (ซึ่งอาจเป็นของแสดงต่อร่างกายของเขา) จึงอาจกล่าวได้ว่า แม้อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์ แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้ในกรณีของคนที่มีอาการของโรคอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ หรืออาหารบางอย่างที่จัดเป็นของแสลงต่อร่างกายตนเอง
คนป่วยโรคเกาต์ควรเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นอาจยังไม่จำเป็นต้องเลี่ยง เพียงแต่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อิ่มท้อง อิ่มใจ แบบไม่ต้องทรมานความอยากมากเกินไปก็พอแล้ว
เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าพวกเรา (ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยพุงพลุ้ยหรือไม่ก็ตาม) ควรกินอะไรเพื่อให้ห่างไกลเกาต์ และลดปริมาณกรดยูริคในร่างกายลงได้บ้าง
"ไก่" กับ "เกาต์"
"อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเกาต์" ดูเหมือนพวกเราจะได้ยินประโยคที่เต็มไปด้วยความห่วงใยอย่างนี้กันอยู่เนือง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไก่ก็มีความเกี่ยวพันกับอาการเกาต์จริง ๆ นั่นแหละครับ เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่สูงปานกลาง ถ้ากินเยอะ ๆ อาจกระตุ้นให้ผู้ที่มีอาการเกาต์อยู่แล้ว เกิดการอักเสบมากขึ้น ทว่าอย่าเพิ่งถึงขั้นงดกินเลยครับ เพราะนักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้แนะนำว่า คงไม่ต้องถึงกับงดทานสัตว์ปีกหรอกครับ เพียงแต่อาจต้องลดความถี่ในการทาน หรือทานในบริเวณที่เสี่ยงน้อย เช่น ไม่ทานตรงข้อ หรือทานบริเวณอกไก่แทนก็ได้ครับ
รู้หรือเปล่าว่า...
ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า โดยมักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน
การหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มี "พิวรีน" สูง
นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บอกกับ Men’s Health ว่า "คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารทั้งหมด แต่อาจต้อง "ลด" ปริมาณลง" และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ว่าจะ "งดหรือลดอะไร" หากอยากห่างไกลจากอาการปวดข้ออันทรมาน
1.ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม โดยแนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน ได้แก่
เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม
ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง
ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี)
2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีน 75-150 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม ควรเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มนี้สัปดาห์ละครั้ง ได้แก่
เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อกระต่าย เบคอน ลิ้นวัว เป็ด ห่าน นกพิราบ ปลาไหล หอยต่าง ๆ ไข่นกกระทา
ผัก เช่น ตำลึง สะตอ ใบขี้เหล็ก (ครั้งละ ½ ถ้วยตวง)
3.งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม ได้แก่
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา) น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม)
4.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
แม้เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จะมีพิวรีนไม่มาก (ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ระบุว่า เบียร์มีพิวรีนเยอะสุด) แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายจะทำให้เกิดกรดยูริคได้ ดังนั้นอดใจงดดื่มได้ก็งดเถอะครับ นอกจากนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาในอเมริกายังรายงานว่า น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลจากข้าวโพด จะไปเพิ่มกรดยูริคให้ร่างกายได้ด้วยครับ
อาหารที่แนะนำให้ทาน
จากหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ได้แนะนำอาหารที่ใช้ในการบำบัดหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์ไว้ดังนี้
เชอร์รีสด
งานวิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทดลองในผู้หญิงพบว่า ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ เมื่อให้หญิงสาวอดอาหารและกินเชอร์รีลูกโต นอกจากนี้ยังพบว่า เชอร์รีดำ เชอร์รีเหลือง และเชอร์รีแดง รสเปรี้ยว ก็มีประโยชน์เช่นกัน
เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลือง
คนที่มีอาการโรคเกาต์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก
มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่า ผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้
น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
มีงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูริคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเกาต์กำเริบในทางอ้อม
น้ำและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยชำระกรดยูริคออกจากร่างกายได้ แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เมนูลดอาการปวดข้อ
เมนู 3 วันที่จัดใส่จานเสิร์ฟถึงมือผู้อ่าน โดย หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร ประจำศูนย์เบาหวานไทรอยด์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์
วันที่ 1
มื้อเช้า – ซีเรียล (ไม่ขัดสี) ประมาณ 2 ถ้วยตวง นมปราศจากไขมัน 1 กล่อง
มื้อเที่ยง – ข้าวไก่อบ (เลือกอกไก่) ส้มเขียวหวาน 1-2 ผล
มื้อเย็น – สุกี้น้ำ (ใส่น้ำจิ้มเล็กน้อย) แก้วมังกร ½ ผล
วันที่ 2
มื้อเช้า – ข้าวต้มกุ้ง 1 ชาม กาแฟหรือชาร้อน 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำไม่ใส่เครื่องใน แคนตาลูป 6-8 ชิ้น (พอดีคำ)
มื้อเย็น – ข้าวสวย แกงจืดเต้าหูหมูสับ น้ำส้มคั้น 100% 120 ซี.ซี.
วันที่ 3
มื้อเช้า – แซนด์วิชไข่ต้มใส่ผักกาดหอม และมะเขือเทศ โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ผัดผักรวมราดข้าว น้ำแตงโมปั่น (หวานน้อย) 1 แก้ว (200 ซี.ซี.)
มื้อเย็น – ข้าวสวย ต้มยำกุ้งน้ำใส แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล
ของหวานหรือขนม - วุ้นเจลาติน / เวเฟอร์ / สมูทตี้แบบไขมันต่ำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ยังไงก็หมั่นดูแลตัวเองและคนที่เพื่อนๆรักด้วยนะครับ
ข้อเข่าหรือข้อต่อต่างๆเพื่อนๆใช้งานมันทุกวันๆ
ถ้าไม่ดูแลมันก็ไม่ไหวเหมือนกันครับ
อาจจะถึงขั้นที่เดินไม่ได้เลยนะครับ
อย่าให้เป็นเลยจะดีที่สุดครับ
เพราะเป็นแล้วไม่มีความสุขหรอกครับ
ทำอะไรที่อยากทำก็ลำบาก
ไปที่ไหนที่อยยากไปก็ลำบาก
ผมขอฝากไว้ด้วยนะครับ
ขอให้เพื่อนๆและคนที่เพื่อนๆรักมีสุขภาพดีครับ
ข้อเข่าหรือข้อต่อต่างๆเพื่อนๆใช้งานมันทุกวันๆ
ถ้าไม่ดูแลมันก็ไม่ไหวเหมือนกันครับ
อาจจะถึงขั้นที่เดินไม่ได้เลยนะครับ
อย่าให้เป็นเลยจะดีที่สุดครับ
เพราะเป็นแล้วไม่มีความสุขหรอกครับ
ทำอะไรที่อยากทำก็ลำบาก
ไปที่ไหนที่อยยากไปก็ลำบาก
ผมขอฝากไว้ด้วยนะครับ
ขอให้เพื่อนๆและคนที่เพื่อนๆรักมีสุขภาพดีครับ
ผมเป็นห่วงเพื่อนๆของผมทุกคนนะครับ
แล้วพบกันใหม่ครับขอให้สุขภาพแข็งแรง
และมีความสุขกับบทความต่างๆของผม
สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น