โรคข้อเข่านักวิ่งมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ( Quadriceps ) ไม่แข็งแรง การวิ่งที่ต้องงอเข่ามากๆเช่น วิ่งขึ้นหรือลงจากที่สูง หรือที่ลาดเอียง เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าว ถ้ารักษาหายแล้วต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วยการป้องกัน ซึ่งประกอบด้วย
1. เลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสม ปรับปรุงเทคนิคการวิ่งให้ถูกต้อง เลือกสถานที่วิ่งให้เหมาะสม ถ้าวิ่งเพื่อสุขภาพก็ควรหลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมที่ต้องวิ่งขึ้นหรือลงจากที่สูง หรือที่ลาดเอียง
2. บริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ( Quadriceps ) ให้แข็งแรง ใช้ท่ายืน นั่งเก้าอี้หรือนอน ก็ได้
ท่ายืน ให้ยืนเอาหลังพิงผนัง ยกขาขึ้น เข่าเหยียดตึง ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกค้างไว้ 5 วินาที แล้วงอเข่าเป็นการพักสัก 5 วินาที ยกซ้ำอีกจนครบ 5 ครั้งแล้วสลับยกขาอีกข้างหนึ่ง ค่อยๆเพิ่มจนยกได้นาน 10 วินาที
ท่านั่ง นั่งเก้าอี้พิงพนัก เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาให้เข่าเหยียดตรง นับ ถึง 10 แล้วคลายกล้ามเนื้อปล่อยเข่าลง ทำ 10 ครั้ง แล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 2-3 เที่ยวต่อวัน
ท่านอน นอนหงายแล้วยกขาขึ้นจากพื้น สูงประมาณ 1 ฟุต เข่าเหยียดตรง นับถึง10 แล้ววางลง ทำ 10 ครั้ง แล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 2-3 เที่ยวต่อวัน
ถ้าแข็งแรงขึ้นก็ค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งและจำนวนเที่ยวให้มากขึ้น อาจเพิ่มได้ถึง 90-100ครั้งต่อวัน หรืออาจเพิ่มความหนักด้วยการยกน้ำหนัก ( ถ่วงด้วยถุงทราย ) อาจเริ่มที่น้ำหนักน้อยๆเช่น 1 กิโลกรัม แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย ( พวกนักวิ่งจะยกถึง 1/3 ของน้ำหนักตัว )
ถ้าให้ดีก็บริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ( Hamstrings ) คู่กันไป ด้วยการนอนคว่ำ ยกขาขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เข่าเหยียดตรง ทำเหมือนการบริหารด้านหน้า
นอกจากนี้ยังอยากแนะนำการบริหารที่จะช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่จะช่วยเสริมความแข็งแรงของข้อเข่าอีก 1 ท่า คือ Foot Turns
Foot turns นั่งเก้าอี้หรือนอนหงายก็ได้ เหยียดขาออก เข่าตรง กระดกข้อเท้าขึ้น เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา หมุนเท้าออกด้านข้างให้ได้มากที่สุดที่จะทำได้ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วหมุนเท้าเข้าด้านในให้มากที่สุดที่จะทำได้ค้างไว้ 10 วินาทีเช่นกัน พัก แล้วสลับข้าง ทำ 3เที่ยว
นักวิ่งใหม่ๆที่มีอาการดังกล่าว ให้พักจนอาการดีขึ้น หลังจากนั้นก็ศึกษาเทคนิคการวิ่งที่ถูกต้อง ไม่หักโหมจนเกินไป เลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสมกับการวิ่ง แนะนำประเภทที่รองรับแรงกระแทกได้ดี เลือกวิ่งในสถานที่ที่ไม่มีทางลาดชัน ทางวิ่งเรียบ ไม่มีการเลี้ยวที่มีมุมแคบ
ฝึกกล้ามเนื้อตามวิธีดังกล่าวข้างต้น ท่านไม่น่าจะมีอาการบาดเจ็บดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ก็ไม่จำเป็นต้องเลิกวิ่งแล้วหันไปออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น แต่ถ้าทำแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการบาดเจ็บซ้ำอีก ก็แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์นะครับ
นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ หนังสือบาดเจ็บจากการวิ่ง
Knee Pain โดย Josh Clark จากhttp://www.coolrunning.com/engine/2/2_5/194.shtml
อย่าลืมเอาไปทำกันดูนะครับเพื่อนๆที่ชอบวิ่ง
หมั่นดูแลตัวเองและคนที่เพื่อนๆรักด้วยนะครับ
การปล่อยปะละเลยอาจจะทำให้เข่าพังจนเดินไม่ได้เลยนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆทุกคนยังอยากเดินได้อยู่นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น