วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปวดเข่า


        ปวดเข่า เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว การชลอความเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า จะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรังและการติดยาของผู้ป่วย
        ข้อเข่า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ยืน เดิน วิ่ง กระโดด โดยจะรับน้ำหนักของร่างกายทั้งหมด รวมทั้งรับแรงกดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่าตลอดเวลา เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน ก็ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกข้อเข่า ข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมสภาพจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนัก และการใช้งานของข้อเข่านั้น ๆ

ลักษณะโครงสร้างของเข่า

        เข่า เป็นอวัยวะข้อของร่างกาย ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
  • กล้ามเนื้อ ซึ่งเสริมความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อ
  • กระดูก
  • กระดูกอ่อนบุผิวข้อ
  • เยื่อบุด้านในของข้อ (ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อและช่วยหล่อลื่นข้อ
  • ปลอกหุ้มด้านนอกข้อ
  • เอ็น เป็นส่วนของปลอกหุ้มข้อที่หนาตัวเพื่อยึดข้อให้แข็งแรง
        นอกจากนี้ยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงบริเวณนี้ด้วย

อาการปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม

  • นั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นจะมีอาการปวดรอบเข่า
  • ขึ้นลงบันได้ แล้วมีอาการเสียว และปวดเข่า
  • เดิน หรือยืนนาน ๆ มีอาการปวดเข่า หรือรู้สึกเข่าอ่อน ไม่มีกำลังเดินต่อไป
  • บวม และร้อน ๆ รอบเข่า ถ้าเป็นมากเวลาเดินหรือยืนเขาจะโก่งผิดรูป
  • พบมากคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่อายุน้อยกว่านี้ก็พบได้ ถ้าคนนั้นมีน้ำหนักมาก หรือมีประวัติการใช้ข้อเข่ามาก เช่น นักกีฬา เป็นต้น
  • ส่วนใหญ่เป็นในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป และมักทำงานโดยต้องงอเข่าอยู่เป็นประจำ

การรักษา

การรักษาทางยา ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ไม่ซื้อยาใช้เอง เพราะยาที่ใช้จะเป็นยาแก้ปวด เมื่อใช้ไม่ถูกวิธี จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพผู้ป่วย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โลหิตจาง หรือมีอาการแพ้ยา
การทำกายภาพบำบัด เพื่อคงการเคลื่อนไว้ของเข่า และลดการอักเสบ
การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ในผู้ป่วยแต่ละราย การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ
  1. การผ่าตัดกระดูกขาให้ตรง
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และใส่ข้อเข่าเทียม


หลักการปฏิบัติตนของผู้ที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมหรือเพื่อมิให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าที่ควร

1.ลดน้ำหนักตัวในกรณีที่อ้วน หรือระวังตัวไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป อย่ากินจุกจิก กินอาหารเฉพาะที่มีประโยชน์
2.หลีกเลี่ยงการใช้เข่าในท่าที่มีการกดของกระดูกภายในเข่ามาก ๆ เช่น นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ การยืนนาน ๆ การยกของหนัก การขึ้นบันได คุกเข่าสวดมนต์ นั่งซักผ้า ฯลฯ
3.การบริหารข้อเข่าให้แข็งแรง การบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่าแข็งแรง ทำให้ข้อเข่ากระชับ เคลื่อนไหวได้ดี
  • ท่าที่ 1 นอนหงาย เหยียดเข่าตรงบนเตียง กดเข่าลงพร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น เกร็งค้างไว้นับ 1-3 ช้า ๆ แล้วปล่อย
  • ท่าที่ 2 นอนหงายเหยียดเข่าตรง กระดกข้อเท้าขึ้น ยกขาขึ้นมาพ้นพื้นตรง ๆ ทีละข้าง เกร็งค้างไว้นับช้าง ๆ
  • ท่าที่ 3 นั่งห้อยขาข้างเตียง หรือห้อยขาที่เก้าอี้เหยียดเข่าตรงขึ้นมาเกร็งค้างไว้ โดยทำทีละข้าง
  • ท่าที่ 4 ยืนตรงยกขาขึ้น โดยเขาเหยียดตรง เกร็งค้างไว้

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่า

  • ในระยะแรก ควรพักข้อเข่าไว้ก่อน อย่าเพิ่งลงน้ำหนักมากที่ข้อเข่าข้างปวดนั้น
  • ใช้ผ้ายืดแบนเดจพันรอบ ๆ ข้อเข่าให้กระชับ จะช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่าได้
  • เมื่ออาการปวดเข่าทุเลาแล้ว ให้เริ่มบริหารข้อเข่าโดยสม่ำเสมอวันละ 2 เวลา คือ ก่อนนอน และตอนเช้า
  • ไม่ควรให้เข่าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น ยืนนาน ๆ
  • ปรึกษาแพทย์เมื่ออาการไม่ดีขึ้น

การป้องกัน

  • ลดน้ำหนักตัว โดยควบคุมอาหาร
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ผัก ผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น แตงโม ชมพู่ สับประรด ส้ม มะละกอ พุทรา และฝรั่ง หลีกเหลี่ยงอาหารรถจัด อาหารมัน อาหารที่ทำจาก แป้ง กะทิ ขนมหวานต่าง ๆ และผลไม้รสหวานจัด เช่น เงาะ ทุเรียน องุ่น มังคุด ละมุด ลำไย น้อยหน่าและมะม่วงสุก
  • รับประทานอาหรให้เป็นเวลา ครบ 3 มื้อ รับประทานอาหารพออิ่ม ไม่รับประทานอาหารจุกจิก และดื่มน้ำบ่อย ๆ
  • หลีกเหลี่ยงการนั่งกับพื้น การนั่ง งอเข่า ชันเข่า นั่งพบเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่ง ยอง ๆ และเวลาขับถ่ายควรใช้ส้วมแบบนั่ง หรือใช้เก้าอี้เจาะรูวาง
  • หลีกเหลี่ยงการขึ้นที่สูง การขึ้นบันได้ บ่อย ๆ การยืนหรือการเดินนาน ๆ
  • ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีอาการปวดเข่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Thairunning.com

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
บทความอ่านเล่นที่จะเปิดวิสัยทัศน์ของคุณให้กว้างไกล 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น