อาจารย์แพทย์หญิง อารีรัตน์ อนันต์นนท์ศักดิ์ แห่งภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวไว้ว่า
ร่างกายของมนุษย์เรามีการใช้งานกันอยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวของ
ข้อต่อ กระดูก กล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ
ตามต้องการ การใช้งานของเนื้อเยื่อดังกล่าวที่มากเกินไปอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ถูกวิธีหรือขาดการดูแล (ขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง) ทำให้เกิดการหดเกร็ง สึกหรอ อักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และกระดูก จนเกิดอาการปวด ตามมาได้
ร่างกายของมนุษย์เรามีการใช้งานกันอยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวของ
ข้อต่อ กระดูก กล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ
ตามต้องการ การใช้งานของเนื้อเยื่อดังกล่าวที่มากเกินไปอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ถูกวิธีหรือขาดการดูแล (ขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง) ทำให้เกิดการหดเกร็ง สึกหรอ อักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และกระดูก จนเกิดอาการปวด ตามมาได้
อาการปวดกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเข่า
ปวดไหล่ เป็นอาการที่พบบ่อยในภาวะสังคมที่ต้องทำงานกันเกือบตลอดเวลา เช่นในปัจจุบันนี้ อาการปวดนี้พบได้กับคนทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย พอๆ กับอาการตัวร้อน ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ของโรคหวัดเลยทีเดียว ถ้าหมอจะถามว่าใครเคยปวดหลัง ปวดคอ ปวดแขน ปวดเข่า ปวดขาฯลฯ บ้าง คิดว่าในช่วงชีวิตของทุกคนต้องเคยปวดสักครั้งหนึ่งมาก่อนแล้วทั้งนั้น ประสบการณ์ของการปวดแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนก็แค่เมื่อยๆ บางคนปวดเป็นๆหายๆ บางคนปวดจนรุนแรงลุกเดินไม่ได้ หรือประกอบกิจวัตรประจำวันไม่ได้เลย
ปวดไหล่ เป็นอาการที่พบบ่อยในภาวะสังคมที่ต้องทำงานกันเกือบตลอดเวลา เช่นในปัจจุบันนี้ อาการปวดนี้พบได้กับคนทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย พอๆ กับอาการตัวร้อน ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ของโรคหวัดเลยทีเดียว ถ้าหมอจะถามว่าใครเคยปวดหลัง ปวดคอ ปวดแขน ปวดเข่า ปวดขาฯลฯ บ้าง คิดว่าในช่วงชีวิตของทุกคนต้องเคยปวดสักครั้งหนึ่งมาก่อนแล้วทั้งนั้น ประสบการณ์ของการปวดแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนก็แค่เมื่อยๆ บางคนปวดเป็นๆหายๆ บางคนปวดจนรุนแรงลุกเดินไม่ได้ หรือประกอบกิจวัตรประจำวันไม่ได้เลย
จะเห็นว่าโรคปวดกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ มีสาเหตุมากมาย ดังนั้นเมื่อมีอาการปวด คุณควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่โรคจะลุกลามเป็นมากขึ้น เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร และหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายอาจร่วมกับการ x-ray หรือเจาะเลือดในบางราย เพื่อทราบสาเหตุที่แน่นอนก่อนว่าเป็นโรคอะไร จึงค่อยทำการลดอาการปวด โดยอาจให้ยาระงับอาการปวดในระยะแรก โดยยาระงับอาการปวดนี้จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบร่วมด้วย การให้ยาควรให้เพียงระยะสั้นๆเท่านั้น เนื่องจากพึงระวังในฤทธิ์ข้างเคียงของยา การรักษาจะใช้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งมีอยู่หลายวิธี
กล่าวเฉพาะอาการปวดเข่า คนเรามักจะไม่ค่อยสนใจหัวเข่าเท่าใดนักตราบเท่าที่มันยังทำงานได้ปกติ แต่เมื่อใดที่มีอาการปวดหรือเดินไม่ถนัด จึงเริ่มตระหนักว่าหัวเข่านั้นมีความสำคัญ
วงจรปัญหาปวดเข่า
เพื่อตัดวงจรของปัญหาการปวดเข่าเรื้อรัง เขาบอกว่าผู้ที่มีอาการปวดเข่า
จึงจำเป็นต้องบริหารเข่า โดยประโยชน์ของการบริหารเข่า จะช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวงอ-เหยียดได้เต็มที่ และช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่า แข็งแรง และทนทานค่ะ
โดยเริ่มจากท่าง่ายขึ้นแล้วพัฒนาไปสู่ท่ายากขึ้น และให้ทำหลังทุเลาปวด หากมีการปวดขณะบริหารควรหยุดท่านั้นก่อน ทั้งนี้ให้ทำสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 – 50 ครั้ง ผู้ที่ไม่เคยปวดเข่า ทำได้ทุกท่าค่ะ โดยเน้นท่าที่มีแรงต้านทานมากๆ จะดีค่ะ
จึงจำเป็นต้องบริหารเข่า โดยประโยชน์ของการบริหารเข่า จะช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวงอ-เหยียดได้เต็มที่ และช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่า แข็งแรง และทนทานค่ะ
โดยเริ่มจากท่าง่ายขึ้นแล้วพัฒนาไปสู่ท่ายากขึ้น และให้ทำหลังทุเลาปวด หากมีการปวดขณะบริหารควรหยุดท่านั้นก่อน ทั้งนี้ให้ทำสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 – 50 ครั้ง ผู้ที่ไม่เคยปวดเข่า ทำได้ทุกท่าค่ะ โดยเน้นท่าที่มีแรงต้านทานมากๆ จะดีค่ะ
ท่าที่ 1 ท่านอนเหยียดเข่า
เป็นท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าขา นอนหงายให้หมอนใบเล็กๆ หนุนใต้เข่าให้เข่างอเล็กน้อย เหยียดให้เข่าตรงที่สุด เกร็งไว้ 10 วินาที
ท่านี้เหมาะกับคนที่ปวดหรือมีการอักเสบของเข่าค่ะ
เมื่อทุเลาแล้ว ใช้หมอนรองให้เข่างอมากขึ้น หรือเปลี่ยนมานั่งบนเก้าอี้แล้วเหยียดเข่าให้ตรง หรืออาจใช้ถุงทรายหรือน้ำหนักถ่วงเพิ่มบริเวณข้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อให้มากขึ้นค่ะ
ท่านี้เหมาะกับคนที่ปวดหรือมีการอักเสบของเข่าค่ะ
เมื่อทุเลาแล้ว ใช้หมอนรองให้เข่างอมากขึ้น หรือเปลี่ยนมานั่งบนเก้าอี้แล้วเหยียดเข่าให้ตรง หรืออาจใช้ถุงทรายหรือน้ำหนักถ่วงเพิ่มบริเวณข้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อให้มากขึ้นค่ะ
ท่าที่ 2 ท่านอนคว่ำงอเข่า
เป็นท่าบริหารกล้ามบริหารกล้ามเนื้อหลังขา โดยนอนคว่ำ งอข้อเข่าข้างที่เคยปวด หรืองอไม่ได้เข้ามาให้มากที่สุด
เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วเหยียดออก และอาจใช้ถุงทรายถ่วงเพิ่มน้ำหนักแรงต้านที่ข้อเท้าได้เช่นกันค่ะ
เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วเหยียดออก และอาจใช้ถุงทรายถ่วงเพิ่มน้ำหนักแรงต้านที่ข้อเท้าได้เช่นกันค่ะ
ท่าที่ 3 ท่าย่อตัวลงนั่ง
ให้ยืนหันหลังให้ขาชิดขอบเก้าอี้หรือฝาผนัง ค่อยๆ ย่อเข่าทั้งสองลงนั่งแล้วค่อยๆ ลุกขึ้นยืน ทำช้าๆ
หรืออาจหยุดเกร็งค้างไว้ที่ช่วงใดช่วงหนึ่ง เมื่อทำได้ดีแล้วให้เปลี่ยนเก้าอี้ให้เตี้ยลงเรื่อยๆ
หรืออาจหยุดเกร็งค้างไว้ที่ช่วงใดช่วงหนึ่ง เมื่อทำได้ดีแล้วให้เปลี่ยนเก้าอี้ให้เตี้ยลงเรื่อยๆ
การบริหารร่างกายนั้น ถ้าทำได้อย่างถูกต้อง ถูกท่าทาง ถูกขั้นตอน และถูกจังหวะเวลา อาการปวดก็จะดีขึ้น แต่ถ้าทำผิดท่าผิดเวลา อาการปวดจะมากขึ้นได้ จึงควรบริหารตามคำแนะนำทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
อาจารย์แพทย์หญิง อารีรัตน์ อนันต์นนท์ศักดิ์ กล่าวไว้ว่าโรคปวดเมื่อรักษาจนหายแล้ว สามารถปวดขึ้นมาใหม่ได้อีก เช่นเดียวกับโรคหวัด นั่นคือ เมื่อคุณไปทำท่วงท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะขณะทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวัน ก็เปรียบเสมือนคุณได้รับเชื้อหวัด โดยถ้าขณะนั้นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณที่ปวดอ่อนแอ (ขาดการออกกำลังกาย และขาดการบริหารกล้ามเนื้อ) ซึ่งเปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอลง คุณก็มีโอกาสปวดขึ้นมาใหม่ เหมือนกับการเป็นหวัดขึ้นใหม่อีกครั้งนั่นเองครับ
อยากเห็นคนไทยสุขภาพแข็งแรงกันทุกๆคนนะครับ
ร.ต.มกร ชีวะถาวร(หมวดมิ้นท์)
0870434848
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น