วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมันน่าเบื่อขนาดไหน

การใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นในด้านการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม มี ๓ กลุ่มใหญ่ คือ COX II inhibitors,glucosamine,และNSAIDs
ยายับยั้งเอนไซม์คลอออกซิเจน เนส-๒ (COX II inhibitors)
เพื่อลดอาการอันไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม NSAIDs จึงมีความพยายามในการวิจัยและพัฒนายากลุ่มใหม่ที่มีผลข้างเคียงลดน้อยลง คือ ยากลุ่ม COX II inhibitors ตัวอย่างเช่น เซเลค็อกซิบ (celecoxib), โรเฟ็กค็อกซิบ (rofecoxib) เป็นต้น ซึ่งทางทฤษฎีเชื่อว่ามีผลข้างเคียงต่อการระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยกว่ายากลุ่มเดิม แต่เมื่อมีการใช้ยากลุ่มใหม่นี้มากขึ้น ก็พบอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด จนเป็นเหตุให้บริษัทผู้ผลิตถอนยาโรเฟ็กค็อกซิบออกจากตลาดไป (เลิกจำหน่าย) พร้อมทั้งเพิ่มคำเตือนเกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์ของยาที่ยังมีจำหน่ายอยู่ในตลาดให้ระวังเรื่องนี้มากขึ้น
ยานี้อันตราย โชคดีที่มีการเลิกขายยาชนิดนี้ไปแล้ว โชคดีของคนเข่าเสี่อม
ยากลูโคซามีน (Glucosamine)
ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์บำรุงกระดูกอ่อน และลดการเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อเข่า ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการรักษาประมาณ ๑ – ๑ ๑/๒ เดือน จึงจะได้ผลดี
แต่… ราคาแพงมากนะครับ
ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (NSAIDs)ยากลุ่ม NSAIDs (Non Steroidal Anti inflammatory Drugs หรือยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สตีรอยด์) ตัวอย่างเช่น แอสไพริน (aspirin) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ไดโคลฟีแนก (diclofenac) ไพร็อกซีแคม (piroxycam) เป็นต้น ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบได้ดี แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
มีผลกดการทำงานของไต ทำให้ร่างกายมีน้ำคั่งอยู่เป็นจำนวนมาก
เกิดการบวมน้ำและความดันเลือดสูงขึ้น และ
ยังไปยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เมื่อเกิดแผลแล้วเลือดไหลหยุดยาก
ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ยากลุ่มนี้เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดหรืออักเสบเท่านั้น โดยให้กินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ควรหยุดยา หรือถ้าจะใช้ต่อเนื่องกันควรอยู่ภายใต้การดูแลสั่งจ่ายของแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งยังควรระวังการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่เป็นหรือมีประวัติการเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคเลือด เป็นต้น
เห็นไหมครับว่ามันอันตรายขนาดไหน และน่าเบื่อขนาดไหนที่ต้องกินระเบิดเวลาเข้าไปรอเวลาว่าเมื่อไรจะทำให้ร่างกายเราผิดปกติ และเพิ่มเรื่องยุ่งยากให้เราอีก
ยาชุด
ยาอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเงินที่จะไปรักษาด้วยการใช้ยาทั้ง3ตัวที่กล่าวมา คือ ยาชุดแก้ปวดข้อ ที่มีการบรรจุยาหลายชนิด ๓-๕ เม็ดในซองเดียวกัน เพื่อให้กินทั้งหมดครั้งเดียวพร้อมกันเป็นชุด ซึ่งมักประกอบด้วยยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายกังวล ยาสตีรอยด์ เป็นต้น การใช้ยาชุดนี้มีอันตรายมากถ้ามีการใช้ติดต่อกันนานๆ (โรคข้ออักเสบ เป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันนานๆ) โดยเฉพาะยาสตีรอยด์ ถ้ามีการใช้ติดต่อกันมากกว่า ๗-๑๔ วัน ยานี้จะไปกดการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย เช่น ไต ภูมิคุ้มกัน เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นต้น เมื่อไตทำงานน้อยลง น้ำก็จะสะสมในร่างกายมากขึ้น ทำให้ตัวบวมน้ำ ความดันเลือดสูงขึ้น และเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายก็จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาชุดที่จัดรวมอยู่ในซองเดียวกันจำหน่ายในร้านยาหรือร้านชำทั่วไป เพราะมีอันตรายมากอาจจะถึงขั้นที่เสียชีวิตได้เลยนะครับ เลิกเถอะครับ
การผ่าตัด
ในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีการคิดค้นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการส่องกล้อง และการเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งในการส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่าเหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเป็นไม่มาก ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมสภาพมากแล้ว ควรได้รับการเปลี่ยนข้อเทียมซึ่งได้ผลดีทั้ง ๒ กรณี
แต่ราคาก็แพงมาก แถมมีอายุการใช้งานประมาณ10ปี มันก็สึก(พังเร็วกว่าของจริงเสียอีกนะ)แถมใครจะใจถึงขนาด เปลี่ยนเข่าได้หลายๆรอบนะครับ จริงไหมครับ
สรุป
ถึงตอนนี้ก็คงได้ความรู้เรื่องปวดหัวเข่าอันเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมพอสมควร และคงตอบปัญหาตั้งแต่ตอนต้นได้ว่า โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด
การดูแลรักษา ข้อเข่าให้คงสภาพการใช้งานได้อย่างดี ให้นานที่สุด อยู่คู่ อายุขัย ไม่เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรนั้น เป็นทางที่ดีที่สุดแล้วนะครับ
ปัจจัยหลัก คือการใช้งานของข้อเข่า เมื่อใดที่ทำงานแล้วมีอาการเมื่อยล้าหรือเริ่มปวดก็ควรพัก พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง อันได้แก่
น้ำหนักตัวมาก ยกของหนัก นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ ขึ้นบันไดมากๆ เป็นต้น
และควรเสริมสร้างความแข็งแรงด้วยการออกกำลังกายบริหารข้อเข่าและกินแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอ
แต่ถ้ามีอาการปวดและอักเสบร่วมด้วย อาจบรรเทาด้วยยากลุ่ม NSAIDs หรือ COX II inhibitors เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบโดยการกินหลังอาหารทันที
เมื่อใดที่อาการดีขึ้นแล้วควรหยุดยา
ส่วนยากลูโคซามีนเป็นยาบำรุงกระดูกอ่อนที่ต้องใช้เวลาประมาณ ๑ – ๑ ๑/๒ เดือนก่อนที่จะเห็นผล และที่สำคัญไม่ควรซื้อยาชุดที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในร้านชำ เพราะอาจเกิดอันตรายรุนแรงได้ ในกรณีที่จำเป็นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง และอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดในรายที่จำเป็น
แล้วถ้าเราสามารถป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมได้หละครับ มันจะดีกว่าไหม???
และยิ่งจะช่วยให้ยืดอายุการทำงานของข้อเข่าไปนานๆตราบเท่านาน
ก็จะยิ่งดีใช่ไหมครับ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเราในอีกทางหนึ่ง
ได้ทำอย่างที่ใจต้องการไปไหนมาไหนก็เดินเองได้
เพราะผมอยากเห็นคนไทยเรามีสุขภาพหัวเข่าแข็งแรงๆจะได้ไปเที่ยวที่ไหนก็ได้ลุยได้แทบจะทุกที่
โชคดีครับ สุขภาพแข็งแรงกันทุกคนนะครับ
ร.ต.มกร ชีวะถาวร
087-043-4848

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น