โรคปวดเข่า
ปวดเข่า เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว การชลอความเสื่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า จะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรังและการติดยาของผู้ป่วย
.
ลักษณะโครงสร้างของเข่า
เข่า เป็นอวัยวะข้อของร่างกาย ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
.
กล้ามเนื้อ ซึ่งเสริมความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อ
กระดูก
กระดูกอ่อนบุผิวข้อ
เยื่อบุด้านในของข้อ (ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อและช่วยหล่อลื่นข้อ)
ปลอกหุ้มด้านนอกข้อ
เอ็น เป็นส่วนของปลอกหุ้มข้อที่หนาตัวเพื่อยึดข้อให้แข็งแรง
.
นอกจากนี้ยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงบริเวณนี้ด้วย
.
สาเหตุข้อเข่าเสื่อม
อายุเกิน 40 ปี
น้ำหนักตัวมาก
การยืนหรือนั่งงอเข่านาน ๆ
การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอกหรือโค้งเข้าใน
จากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง เช่น ได้รับบาดเจ็บ
ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น ขาดอาหาร หญิงวัยหมดประจำเดือน การได้รับยาฉีดเข้าข้อ โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเกาส์ โรครูมาตอยด์ ฯลฯ
.
อาการ
ปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกลำบาก หรือ ปวดมากเวลาเดิน
บวมและร้อนรอบเข่า
ในรายที่เป็นมากแม้เคลื่อนไหวโดยไม่ลงน้ำหนัก หรือขณะพักอยู่นิ่ง ๆ ก็ปวด
สภาพเข่าโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น
.
การป้องกัน
1.ลดน้ำหนักตัว โดยควบคุมอาหาร
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ผัก ผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น แตงโม ชมพู่ สับประรด ส้ม มะละกอ พุทรา และฝรั่ง หลีกเหลี่ยงอาหารรถจัด อาหารมัน อาหารที่ทำจาก แป้ง กะทิ ขนมหวานต่าง ๆ และผลไม้รสหวานจัด เช่น เงาะ ทุเรียน องุ่น มังคุด ละมุด ลำไย น้อยหน่าและมะม่วงสุก
3.รับประทานอาหรให้เป็นเวลา ครบ 3 มื้อ รับประทานอาหารพออิ่ม ไม่รับประทานอาหารจุกจิก และดื่มน้ำบ่อย ๆ
4.หลีกเหลี่ยงการนั่งกับพื้น การนั่ง งอเข่า ชันเข่า นั่งพบเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่ง ยอง ๆ และเวลาขับถ่ายควรใช้ส้วมแบบนั่ง หรือใช้เก้าอี้เจาะรูวาง
5.หลีกเหลี่ยงการขึ้นที่สูง การขึ้นบันได้ บ่อย ๆ การยืนหรือการเดินนาน ๆ
6.ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีอาการปวดเข่า
.
การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
.
ประโยชน์
ทำให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรง
ป้องกันการอักเสบ และ ชะลอความเสื่อมของเข่า
หลักการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
เป็นการบริหารโดยการเกร็งกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีวิธีการบริหาร 4 ท่า ในแต่ละท่า ทำประมาณ 10 ครั้ง ในเข่าแต่ละข้าง ดังจะได้อธิบายต่อไป
.
ไม่บริหารอย่างเร่งรีบ หรือหักโหม ควรบริหารอย่าง ช้า ๆ ด้วยความตั้งใจ
บริหารทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
.
ในแต่ละท่าการบริหาร จะบริหารเข่าที่ละข้างหรือสองข้างพร้อมกันก็ได้
ควรบริหารทั้ง สองข้าง ถึงแม้จะมีอาการปวดเข่าเพียงข้างเดียวก็ตาม
.
ไม่มีน้ำหนักกดที่เข่าขณะบริหาร
.
งดการบริหารขณะมีอาการปวดเข่ามาก ควรพักและใช้เข่าเท่าที่จำเป็นและให้เริ่มบริหารเมื่ออาการปวดเข่าทุเลาลงแล้ว
.
วิธีการบริหาร
.
ท่าที่ 1 นอนหงาย ศรีษะหนุนหมอนเหยียดขาตรงบนพื้นราบ เกร็งกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยขณะเกร็งใต้ท้องเข้าจะสนิทแนบกับพื้นตลอดเวลา เกร็งค้างไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่ ช้า ๆ ขณะเกร็งจะกระดกข้อเท้าขึ้นด้านบนด้วยก็ได้
.
ท่าที่ 2 นอนหงาย ศรีษะหนุนหมอนใช้หมอนข้างหรือหมอนหนุนศรีษะอีกใบหนึ่ง วางไว้ใต้เข่า ออกแรงต้นกดขากอดหมอนนี้ไว้ พร้อมกับเกร็งเหยียดส่วนของขาใต้เข่าให้ตรง เกร็งค้างไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่ (ท่านที่มีอาการปวดหลังไม่ควรบริหารท่านี้)
.
ท่าที่ 3 นั่งบนเก้าอี้หลังพิงพนักพิง เท้าวางราบกับพื้น หรือวางเท้าบนม้านั่งตัวเล็ก ๆ เพื่อไม่ให้เข่างอมาก เริ่มบริหารโดยวางต้นขานิ่ง ๆ บนเก้าอี้ พร้อมกับเกร็งเหยียดส่วนของขาใต้เข่าให้ตรงในระดับแนวตะโพก เกร็งค้างไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่และเริ่มบริหารใหม่
.
ท่าที่ 4 นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนักพิงไขว้ขาสองข้างซ้อนกัน โดยให้ขาข้างหนึ่งข้างใดอยู่ด้านบนก่อนก็ได้ แล้วออกกำลังเกร็งกดขาสู้กัน เกร็งสู้กันไว้นาน 6-10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วจึงคลาย พักสักครู่ และเริ่มบริหารใหม่สลับบริหารเข่าทั้งสองข้าง
.
การรักษา
การทำกายภาพบำบัด เพื่อคงการเคลื่อนไว้ของเข่า และลดการอักเสบ
การรักษาทางยา ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ไม่ซื้อยาใช้เอง เพราะยาที่ใช้จะเป็นยาแก้ปวด เมื่อใช้ไม่ถูกวิธี จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพผู้ป่วย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โลหิตจาง หรือมีอาการแพ้ยา
.
การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ในผู้ป่วยแต่ละราย การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ
1. การผ่าตัดกระดูกขาให้ตรง
2. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และใส่ข้อเข่าเทียม
.
สรุป : ข้อเข่ามีความหมายต่อสุขภาพ ขอให้ท่านสนใจเสียแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพของข้อเข่าที่แข็งแรงทุกวันในปัจจุบันและอนาคต
อยากเห็นคนไทยสุขภาพแข็งแรงกันทุกๆคนนะครับ
ร.ต.มกร ชีวะถาวร(หมวดมิ้นท์)
0870434848
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น